เคล็ดลับง่ายๆ…ทำให้แบรนด์ “พัง”

ดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย

ช่วงนี้ได้ยินข่าวใหญ่เกี่ยวกับแบรนด์ที่เป็นสายการบินระดับชาติของประเทศ ที่มีข่าวลบและส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในวงกว้าง เลยอยากเล่าสู่กันฟังว่ามีเคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะทำให้แบรนด์ “พัง”

ช่วงนี้ได้ยินข่าวใหญ่เกี่ยวกับแบรนด์ที่เป็นสายการบินระดับชาติของประเทศ ที่มีข่าวลบและส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในวงกว้าง เลยอยากเล่าสู่กันฟังว่ามีเคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะทำให้แบรนด์ “พัง” (โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง!!!)

ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการ คุณสามารถเลือกได้ว่าจะให้แบรนด์สินค้า/บริการของตัวเองจะ “ปัง” หรือจะ “พัง” ดังนั้นเราควรมาทำความเข้าใจว่าเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะทำให้แบรนด์ “พัง” มีอะไรบ้าง ขอย้ำว่าเคล็ดลับเหล่านี้เป็นเคล็ดลับที่ควรหลีกเลี่ยงและไม่ควรทำตามเป็นอย่างยิ่ง

ขอสรุปความแตกต่างระหว่างการสร้างแบรนด์ให้ “ปัง” กับให้ “พัง” ว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่น่าสนใจ เป็นสิ่งที่ผู้เขียนรวบรวมไว้จากประสบการณ์การทำงาน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอยากให้แบรนด์ตัวเองเป็นแบบไหนก็เลือกใช้ได้เลยตามใจชอบ

สร้างแบรนด์ให้ “ปัง”

  • ใช้เวลาในการสร้าง
  • ค้นหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย “จะขายสินค้าให้ใคร” สำคัญกว่า “จะขายอะไร”
  • สร้างจุดยืนทางการตลาด (Brand Positioning) ก่อนสร้างอัตลักษณ์ (Brand Identity)
  • สร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมากกว่าการเลียนแบบผู้อื่น เน้นสร้างความแตกต่างเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นผู้นำมากกว่าเป็นผู้ตาม
  • Customer comes first ให้ความสำคัญกับลูกค้าหรือผู้รับบริการต้องมาก่อนเสมอ
  • รักษาพันธะสัญญาที่ให้ไว้กับผู้บริโภค
  • สร้างคุณภาพควบคู่กับการสร้างภาพ

สร้างแบรนด์ให้ “พัง”

  • ใช้เวลาเพียงเศษเสี้ยวนาที
  • ใช้ความต้องการของตัวผู้ประกอบการเองเป็นเป้าหมาย มักเริ่มจาก “จะขายอะไร” มากกว่า “จะขายสินค้าให้ใคร”
  • สร้างอัตลักษณ์ (Brand Identity) ก่อนสร้างจุดยืนทางการตลาด (Brand Positioning)
  • เลียนแบบผู้อื่นมากกว่าการสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นให้กับสินค้า/บริการของตัวเอง ไม่สร้างความแตกต่าง เป็นผู้ตามมากกว่าเป็นผู้นำ การเป็นผู้ตามไม่ผิด เราสามารถเป็นผู้ตามได้แต่ควรใส่ความคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ เข้าไปด้วย
  • Entrepreneur comes first ให้ความสำคัญกับตัวผู้ประกอบการว่าต้องมาก่อนลูกค้าหรือผู้รับบริการเสมอ
  • ไม่รักษาพันธะสัญญาที่ให้ไว้กับผู้บริโภค
  • เน้นสร้างภาพมากกว่าสร้างคุณภาพ

รู้อย่างนี้แล้ว เลือกได้หรือยังว่าจะสร้างแบรนด์ให้ “ปัง” หรือสร้างแบรนด์ให้ “พัง” เพราะถ้าคุณไม่เลือก คุณนั่นล่ะที่จะเป็นฝ่ายถูกเลือก ถึงเวลานั้นแล้วแค่เสียใจก็คงไม่พอ เพราะต้องเสียทั้งเวลาเสียโอกาส เสียงบประมาณรวมถึงและทรัพยากรต่าง ๆ อีกด้วย

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ