Global Macro Review and Outlook : เมธิณี วสุมดี TMB Analytics

เมธิณี วสุมดี

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจโลก อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นจะกลับสู่เป้าหมายที่ 2% ในปีหน้า (2016) ด้วยการปรับดัชนี้ชี้วัดใหม่ คาดการณ์อาจได้เงินการหยุดทำ QQE

 

  ถึงแม้ว่า BOJ จะยังไม่มีการปรับเพิ่มลดปริมาณ QQE หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินอะไรมากนักในช่วงนี้ แต่การวัดเงินเฟ้อด้วยตัวชี้วัดใหม่ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ล่าสุดผู้ว่าการ BOJ นายคุโรดะได้แถลงว่า BOJ ปรับมาใช้ CPI ที่ไม่นับรวมอาหารสดและพลังงานเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อแทนที่ CPI เดิมที่ไม่นับรวมแค่อาหารสด ซึ่งราคาอาหารและพลังงานถือเป็น 25% และ 7% ของมูลค่าสินค้าตามลำดับ BOJ เชื่อว่าเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะกลับมาสู่เป้าหมายที่ 2% ได้ในต้นปี 2016 ซึ่งถ้ามีแนวโน้มเป็นไปได้จริง เราอาจจะได้เห็นการหยุดทำ QQE ก็เป็นได้

  U.S. –  นับถอยหลังสู่การขึ้นดอกเบี้ย 

สัปดาห์ก่อน: ตัวเลขการจ้างงาน (NFP) ที่ประกาศออกมาเพิ่มขึ้น 2.15 แสนตำแหน่งถือว่าไม่น้อยแต่ก็ไม่ทำให้ Unemployment Rate ลดลงจาก 5.3% ได้ ทำให้ยังต้องจับตา NFP ในอีก 2ครั้งที่เหลือก่อนกันยานี้ ถ้าสามารถขึ้นไปที่ระดับ 2.25 แสนคนขึ้นไปได้ในทั้ง 2เดือน น่าจะทำให้การขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนกันยายนเกิดขึ้นได้จริง

สัปดาห์นี้: ช่วงกลางสัปดาห์จะมีตัวเลข Retail Sales ซึ่งเริ่มกลับมาเป็นบวกในไตรมาสที่แล้ว ถ้ายังรายงานเป็นบวกต่อเนื่องได้น่าจะทำให้ภาพการบริโภคกลับมาดูดีอีกครั้ง หลังจากที่การบริโภคหดตัวไปในไตรมาสแรก

 Euro Zone – จับตา GDP 2Q 

สัปดาห์ก่อน: ยอดสั่งซื้อภาคการผลิตของเยอรมนีในไตรมาสสองเพิ่ม 3.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของยุโรป อ้นเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางยุโรป (ECB)

สัปดาห์นี้: จับตาดู Flash GDP ไตรมาส 2 ซึ่งคาดว่าน่าจะออกมาทรงตัวที่ 0.4%q/qSA เท่ากับไตรมาสแรก และรายงานการประชุม ECB ครั้งล่าสุดที่จะให้ทิศทางเกี่ยวกับนโยบายการเงินในอนาคต

 Japan –  ยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก 

สัปดาห์ก่อน: ทางการญี่ปุ่นรายงานตัวเลขส่งออกเดือน ก.ค. ที่ +4.2%y/y โดยได้แรงหนุนจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าซึ่งก็ดีกว่าหลายๆ ประเทศในเอเชีย

สัปดาห์นี้: ยังไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น

 China –  เงินเฟ้อยังต่ำ 

สัปดาห์ก่อน: อัตราเงินเฟ้อจีนเดือนกรกฏาคมอยู่ที่ +1.6%y/y สูงขึ้นเล็กน้อยจาก +1.4%y/y เดือนก่อนหน้า เงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำสะท้อนถึงอุปสงค์ที่อ่อนแอที่ส่งผลกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์

สัปดาห์นี้: ช่วงกลางสัปดาห์จะมีตัวเลข Industrial Production และ Fixed Asset Investment ออกมาซึ่งตลาดคาดว่าน่าจะอยู่ที่ 6.7%y/y และ 11.5%ytd/y ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2010 สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส

(66) 2 292 4248

[email protected]

เมธิณี วสุมดี

ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส

(66) 2 242 3158

[email protected]

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ