เงินหยวนอ่อนค่า ใครได้รับผลกระทบ : TMB Analytics เมธิณี วสุมดี

เมธิณี วสุมดี

ต้องยอมรับว่าไม่มีอะไรที่จะเด่นไปกว่าเรื่องการลดค่าเงินหยวนของจีนเมื่อสัปดาห์ก่อนโดยถึงแม้ว่า PBOC จะออกมาให้ความมั่นใจกับตลาดว่าค่าเงินหยวน ณ ปัจจุบันถือว่านิ่งแล้ว แต่ผู้ค้าในตลาดยังไม่คลายความกังวลในการกระทำของ PBOC ดังกล่าว ด้านเศรษฐกิจ

 ต้องยอมรับว่าไม่มีอะไรที่จะเด่นไปกว่าเรื่องการลดค่าเงินหยวนของจีนเมื่อสัปดาห์ก่อนโดยถึงแม้ว่า PBOC จะออกมาให้ความมั่นใจกับตลาดว่าค่าเงินหยวน ณ ปัจจุบันถือว่านิ่งแล้ว แต่ผู้ค้าในตลาดยังไม่คลายความกังวลในการกระทำของ PBOC ดังกล่าว ด้านเศรษฐกิจ ประเทศที่การส่งออกอิงกับจีนมากเช่นออสเตรเลียเกาหลีใต้ หรือไต้หวัน อาจได้รับผลกระทบค่อนข้างมากถ้าเงินหยวนยังอ่อนค่าต่อหรือเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงอีก

 U.S. – ดูเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก

สัปดาห์ก่อน :  มีคณะกรรมการนโยบายการเงินออกมาให้ความเห็นในช่วงต้นสัปดาห์คือ Fisher กับ Lockhart ซึ่งแม้ว่าโทนจะออกมา dovish มากแต่ตลาดยังเลือกที่จะฟังด้าน ขึ้นดอกเบี้ยอยู่ ด้านเศรษฐกิจมีRetail Sales ออกมาดีมากที่ +0.6%m/m

สัปดาห์นี้ : รอดูยอดขออนุมัติสร้างบ้านใหม่ที่ระดับ 1.21 ล้านหลังจะช่วยเพิ่มความ มั่นใจในเศรษฐกิจสหรัฐฯและ CPI ที่จะรายงานช่วงกลางสัปดาห์จะเสริมภาพการขึ้น ดอกเบี้ย

 Euro Zone – GDP 2Q15 โตน้อยกว่าคาด

สัปดาห์ก่อน : ตัวเลข GDP ไตรมาส 2 แสดงว่าเศรษฐกิจกลุ่มยูโรโซนโต 0.3%y/y ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ที่ 0.4% จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำของกลุ่มสมาชิกใหญ่อย่างเยอรมนีและฝรั่งเศส

สัปดาห์นี้ : จับตาการคืนหนี้กรีซอีกก้อนจำนวน 3.2 พันล้านยูโรให้กับ ECB ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร หลังจากที่กลุ่มเจ้าหนี้ยอมให้กรีซกู้เพิ่ม 8.6 หมื่นล้านยูโรแลกกับมาตรการรัดเข็มขัด

 Japan – GDP 2Q15 ดีกว่าคาดแต่ยังติดลบ

สัปดาห์ก่อน : ยังไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น

สัปดาห์นี้ : ตัวเลข GDP 2Q15 รายงานออกมาที่ -0.4%q/qSA ซึ่งหลักๆ ยังมาจากการบริโภคที่ลดลง วันพฤหัสจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน แต่เชื่อว่าจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในนโนบายใดๆในรอบนี้

 China – จีนลดค่าเงิน

สัปดาห์ก่อน : ธนาคารกลางจีนปรับลดค่าเงินหยวนรวม 4.5% และปรับนโยบายการ กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของทางการโดยให้คำนวนจากราคาปิดของวันก่อนหน้า เพื่อที่จะให้กลไกตลาดมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการกำหนดค่าเงิน

สัปดาห์นี้ : จะมีการประกาศดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตที่คาดว่าน่าจะออกมา ต่ำกว่าระดับ 50 อีกซึ่งเป็ นสัญญาณว่าภาคการผลิตมีการหดตัวลงในช่วงเดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส
(66) 2 292 4248
เมธิณี วสุมดี
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ