โลจิสติกส์สร้างความมั่งคั่งธุรกิจ ตอน โลจิสติกส์เชิงบูรณาการ:ฐาปนา บุญหล้า

อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ

นิยามของการจัดการโลจิสติกส์ที่ใช้ในที่นี้อ้างอิงจาก The Council of Supply Chain Management Professional (CSCMP), Supply Chain and Logistics Terms and Glossary Update October 2006, www.cscmp.org หมายถึงกระบวนการวางแผนการปฏิบัติงานและกาควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งล่วงหน้าและย้อนกลับของการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บสินค้า

นิยามของการจัดการโลจิสติกส์ที่ใช้ในที่นี้อ้างอิงจาก The Council of Supply Chain Management Professional (CSCMP), Supply Chain and Logistics Terms and Glossary Update October 2006, www.cscmp.org หมายถึงกระบวนการวางแผนการปฏิบัติงานและกาควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งล่วงหน้าและย้อนกลับของการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บสินค้า, การบริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตั้งแต่จุดกำเนิดจากการบริโภคสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าโลจิสติกส์และอนาคต ที่มุ่งเน้นไม่เพียงแต่โลจิสติกส์ขาเข้า โลจิสติกส์ขาออก, การเคลื่อนที่ของสินค้าทั้งภายในและภายนอกองค์กรแล้ว ยังรวมถึงโลจิสติกส์ขากลับ และโลจิสติกส์สีเขียวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก

นิยามนี้เป็นความชัดเจนที่เป็นจริงของกระบวนการโลจิสติกส์ว่าควรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลข้ามสายงานทั้งระบบองค์รวม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นระบบที่กระชับที่สุดด้วยการกระจายต้นทุนจากสายการขนส่งและการกระจายสินค้าในระยะทางที่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและสินค้าสำเร็จรูป ด้วยเหตุนี้จึงไม่มุ่งเน้นเพียงการขนส่งที่มีต้นทุนต่ำสุดและรวดเร็วที่สุดหรือลดสินค้าคงคลังให้เหมาะสมเท่านั้น แต่ต้องมุ่งระบบบูรณาการและการประสานงานตามแนวทางกระบวนการโลจิสติกส์ การยอมรับของแนวคิดต้นทุนรวมโลจิสติกส์ได้เปลี่ยนความสำคัญเชิงความสัมพันธ์ของความแตกต่างในกิจกรรมโลจิสติกส์ ตัวอย่างเช่น แนวทางต้นทุนรวมได้นำไปสู่การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ต้นทุนโลจิสติกส์ระหว่างการให้บริการขนส่งกับต้นทุนการปฏิบัติงานของสิ่งอำนวยการที่ใช้และมีความสำคัญมากกว่า

ถึงแม้ว่าจากบทนิยามโลจิสติกส์องค์รวมที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก็ยังไม่แสดงถึงการประนีประนอมของกิจกรรมเหล่านี้ระบบที่พยายามขยายผลต้นทุนต่ำสุด ในขณะที่มีการสนองความต้องการของลูกค้าได้ถือว่าเป็นวัตถุประสงค์ถูกต้อง แต่ก็ควรจะสอดคล้องกับบริบทของจุดหมายทั่วไปด้วย จากมุมมองขององค์กร จุดมุ่งหมายสูงสุดควรเป็นความมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว

ด้วยพันธกิจให้ได้ต้นทุนต่ำและกำไรสูงสุด ดังนั้นจะต้องขจัดความสูญเปล่าและสูญเสียทั้งหมด ไม่ควรรวมถึงต้นทุนจำเป็นที่มีผลต่อรายได้ การลดต้นทุนโลจิสติกส์ที่มีเหตุผล เช่น กำไรของปีก่อนน้อยกว่าปีที่มีการการลดต้นทุน ในทางเดียวกันการยอมรับในการเพิ่มต้นทุนโลจิสติกส์ได้ก็ต่อเมื่อส่งผลต่อรายได้ที่สูงมากขึ้นในอัตราส่วนที่น่าพึงพอใจ ตัวอย่างเช่น ค่าขนส่งทางอากาศที่เลือกใช้ที่สนองความต้องการลูกค้าได้ดีกว่า แทนที่จะเลือกใช้รูปแบบการขนส่งทางเรือที่ถูกกว่า และการลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง รวมทั้งลดระยะเวลาการทำงานก็สามารถเพิ่มผลกำไรได้อีกด้วย