ทุกวันนี้เราอยู่กับ “เครื่องพิสูจน์จากสังคม (Social Proof)”จริงหรือ?

มะ นันทรัตน์

หนุ่มสาวยุคนี้มักจะชื่นชอบเวลาที่คนมากดติดตามเราทั้ง FB เอย IG เอย หรือตัวเราเองดีใจเมื่อได้การ Like เยอะๆ จริงมั้ย?

ตอบเลยค่ะว่าจริง เพราะมันแสดงถึงความนิยมในตัวของเรา ไม่ว่าจะหล่อหรือสวย หรือทำอะไรดีๆแก่สังคม หรือเขียนอะไรดีๆที่มีประโยชน์ก็ตามแต่ 

ภายใต้ความนิยมเหล่านั้น มันคือ “เครื่องพิสูจน์จากสังคม (Social Proof)” ที่จะช่วยให้คุณสร้างรายได้อีกช่องทางหนึ่ง (เกิดเป็นเน็ต Idol ในยุคนี้เป็นดอกเห็ด ตามมาด้วยการนำคนเหล่านี้มาเป็น influencer ไว้มีโอกาสมะจะขอนำความรู้จากที่ได้รับ ทั้งจากอ.เสรี อ.เหมา และอ.โอ๋ อาจารย์ป.โท (SPU)ของมะและจะทำการรวบรวมให้ได้อ่านกันค่ะ)

มะขอเล่าประสบการณ์ตัวเองด้านนี้ก่อนนะคะ

มีครั้งหนึ่ง มะเคยได้เข้าแข่งขันการประกวดด้านพิธีกรและผู้ประกาศข่าวกับสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งอันดับต้นๆในเมืองไทย และสุดท้ายเข้ารอบได้เซ็นสัญญา โดยในสัญญามีข้อหนึ่งให้มะระบุว่า “มียอดการติดตามIGเท่าไหร่” มะถึงขั้นงงไปแป๊บนึงค่ะ เลยเปิด IG ตัวเองขึ้นมา เห็นยอดแล้วตกใจเหมือนกัน เพราะมันน้อยมากหากเราอยากอยู่องค์กรนี้ เพราะเราไม่ใช่คนมีชื่อเสียงอะไรเลยค่ะ นั่นคือยอดติดตามที่ 1,200 ทำให้เรากลับมาย้อนคิดตอนนี้ว่า ยอดการติดตามก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยต่ออาชีพเราเช่นเดียวกันนะเนี่ยะ

ส่วนด้านของการทำธุรกิจ นักการตลาด ก็ใช้สถิติทั้งหลายเหล่านี้ขององค์กร ในการกระตุ้นยอดขายซะเลย เพราะตัวเลขเหล่านั้น สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของลูกค้า เมื่อลูกค้าเชื่อมั่น และบอกต่อ ก็เกิดเป็น “เครื่องพิสูจน์จากสังคม (Social Proof)” ยิ่งองค์กรไหนได้รับความนิยมในการบอกต่อ ลูกค้ายิ่งเข้าถึงได้มากขึ้น ยอดขายก็ดีขึ้นด้วย

ส่วนอีกมุมหนึ่งที่เรามักเห็นบ่อยๆ คุณเคยสังเกตหรือไม่เวลาไปทานอาหารตามร้านบนห้างสรรพสินค้า มะจะเห็นร้านอาหารบางเจ้าที่คนต่อแถวเยอะมาก นั่นแปลว่าอาหารอร่อย คนถึงยอมเสียเวลาต่อแถวกันมากมายขนาดนี้ เมื่อลองสังเกตต่อว่า คนที่มาเพื่อรับประทานอาหารเช่นเดียวกับเรา เมื่อพวกเขาเห็นว่าร้านนี้คนต่อแถวเยอะ ก็ร่วมต่อแถวรับบัตรคิว นั่นแปลว่า “เครื่องพิสูจน์จากสังคม (Social Proof)” ทำงานได้ดีจริงๆ 

ลองกลับมาย้อนดูแบรนด์คุณสิว่า มีเครื่องพิสูจน์ทางสังคม(Social Proof) แล้วหรือยัง ถ้ายังเริ่มลงมือทำกันเถอะค่ะ

#มะนันทรัตน์ #พิธีกร #ผู้ประกาศข่าว