กลยุทธ์สำคัญที่ SME ควรรู้ของ Marketing Event : เนตรนิภา สิญจนาคม

เนตรนิภา สิญจนาคม

Marketing Event สิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของกลยุทธ์ กลยุทธ์การทำการตลาดกับกลยุทธ์การจัดกิจกรรมการตลาด อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันด้วยรูปแบบ แต่ปลายทางของเป้าหมายนั้นจะเป็นแนวทางเดียวกัน คือมุ่งเน้นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการสื่อสารเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย สร้างการรับรู้ในข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อย่างที่ต้องการ และนำไปสู่การซื้อสินค้าในที่สุด

การทำ Marketing Event สิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของกลยุทธ์ กลยุทธ์การทำการตลาดกับกลยุทธ์การจัดกิจกรรมการตลาด อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันด้วยรูปแบบ แต่ปลายทางของเป้าหมายนั้นจะเป็นแนวทางเดียวกัน คือมุ่งเน้นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการสื่อสารเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย สร้างการรับรู้ในข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อย่างที่ต้องการ และนำไปสู่การซื้อสินค้าในที่สุด

กลยุทธ์สำคัญที่นำมาแบ่งปันเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้ก็คือ กลยุทธ์ 3 M + 1 C

กลยุทธ์ 3 M + 1 C คือ Marketing, Management, Measurement + Creativity

M ตัวแรก = Marketing ซึ่งมีตัวแปรหรือองค์ประกอบของส่วนผสมทางการตลาด (4P’s) เป็นตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าทางการตลาดที่กระทบต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อที่มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น โดยกูรูการตลาด Phillips Kotler บัญญัติไว้เป็นแนวความคิดและทฤษฎีทางการตลาดแบบที่เข้าใจได้โดยง่าย นั่นก็คือ

–       Product (ผลิตภัณฑ์)

–       Price (ราคา)

–       Place (ช่องทางการจำหน่าย)

–       Promotion (การส่งเสริมการขาย)

ซึ่งเราต้องปรับให้ 4 P’s นี้มาเป็นองค์ประกอบหลักในการคิดรูปแบบของกิจกรรมของเรา ดังนั้นก่อนจะคิดรูปแบบของกิจกรรม เริ่มต้นเราต้องทำความเข้าใจกับ 4 P’s ของผลิตภัณฑ์นั้นก่อน

M ตัวที่สอง = Management หรือหมายถึงการบริหารจัดการช่องทางการสื่อสารในกิจกรรมของเรา

เช่น กรณีเป็น Dealer คุณอาจจัดเป็นงาน Dealer Conference หรือพา Dealer ทัวร์ 9 วัด แล้วจบลงที่การชมโรงงาน เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ตบท้ายด้วยการเปิดให้ Take Order ในราคาพิเศษ ซึ่งการบริหารจัดการแต่ละกิจกรรมในแต่ละกลุ่มเป้าหมายก็จะมีความแตกต่างกัน ในสมัยหนึ่งการจัดงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ 1 ครั้ง ต้องจัดสำหรับกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม เช่น ช่วงเช้า-สำหรับสื่อมวลชน, ช่วงบ่าย-สำหรับ Dealer และวันรุ่งขึ้น-สำหรับ Consumer ซึ่งการจัดงานบางงานในปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ เช่นการจัดรอบเจรจาธุรกิจ จึงทำให้กลยุทธ์ของการบริหารจัดการเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่มีความซับซ้อนค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันก็มีบริษัทที่เรียกว่าบริษัทออแกไนเซอร์มาช่วยจัดการเรื่อง Management งานให้

M ตัวที่สาม = Measurement หมายถึงการวัดได้ เป็นกลยุทธ์สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะตอบได้ว่าสิ่งที่คุณดำเนินงานไปนั้น บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ โดยการวัดผลจะต้องอยู่ในกระบวนการของการจัดกิจกรรมทางการตลาดไปพร้อม ๆ กัน ยิ่งถ้าต้องวัดผลเป็นยอดขาย ก็ยิ่งจะต้องเชื่อมโยงกิจกรรมนั้น ๆ ให้ตอบโจทย์ของการทำกิจกรรม เช่น ถ้าคุณตั้งเป้าเพื่อกระตุ้นยอดขาย แต่รูปแบบกิจกรรมของคุณไม่มีสิ่งใดเชื่อมกลับไปที่การขายเลย กิจกรรมกระตุ้นการขายนั้นก็ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ

และกลยุทธ์สุดท้ายคือ

C หรือ Creativity การสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ในกิจกรรม ศึกษาช่องทางการสื่อสารที่แปลกใหม่ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถสื่อถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ตรงประเด็น กระชับและสั้นที่สุด โดยการสร้างสรรค์นั้นไม่ได้มีกฎตายตัว เช่น ถ้าคุณจะสื่อสารเรื่องของดิจิตอล ก็ต้องมีแนวคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เชื่อมต่อกลุ่มเป้าหมายกับผลิตภัณฑ์โดยใช้เครื่องมือทางดิจิตอลมาเป็นสื่อ

กลยุทธ์ 3 M + 1 C นี้ อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายสำหรับการทำกิจกรรมการตลาดหรือ Marketing Event แต่ถ้ายังคิดอะไรไม่ออก ก็สามารถนำกลยุทธ์พื้นฐานเหล่านี้มาปรับใช้เป็นกลยุทธ์แรก ๆ ในการจัดระเบียบความคิดเบื้องต้นได้ค่ะ แล้วพบกันใหม่นะคะ

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ