สถานการณ์ข้าวไทยในอเมริกายังคงขยายตัวได้ดี : กองบรรณาธิการ SMART SME

Nanyarath Niyompong

ในปี 2557 ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการส่งออกข้าวมีมูลค่าสูงถึง 1,992.28 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา โดยประเทศไทยถือได้ว่าเป็นผู้ส่งออกสินค้าข้าวไปยังสหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นรายใหญ่ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.27 ของการนำเข้าข้าวทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวห

ในปี 2557 ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการส่งออกข้าวมีมูลค่าสูงถึง 1,992.28 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา โดยประเทศไทยถือได้ว่าเป็นผู้ส่งออกสินค้าข้าวไปยังสหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นรายใหญ่ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.27 ของการนำเข้าข้าวทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวหอมมะลิ

 

การนำเข้าข้าวไทยมีการขยายตัวมากขึ้นตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์ข้าวหอมมะลิไทย จะยังคงขยายตัวได้ดีไปจนกว่าสหรัฐอเมริกาจะทำการผลิตข้าวหอมมะลิเองได้ภายในประเทศนั่นเอง

 

การผลิตและส่งออกข้าวของสหรัฐอเมริกา

 

การนำเข้าข้าวของสหรัฐอเมริกานั้น มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 ที่ผ่านมามีการนำเข้าข้าวจากทั่วโลก 768.22 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา เพิ่มมากขึ้นจากปี 2556 คิดเป็นร้อยละ 4.47 สหรัฐอเมริกาจะมีผลผลิตข้าวเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น และยังเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผลิตผลทั้งหมด ตลาดที่สำคัญคือเม็กซิโก อเมริกากลาง และตะวันออกกลาง ปัจจุบันยังคงต้องพบกับการแข่งขันสินค้าข้าวจากเพื่อนบ้านในแถบเอเชียอีกด้วย การนำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 (ม.ค. – มิ.ย.) สหรัฐอเมริกามีมูลค่าการนำเข้าข้าวรวม 378.83 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2557 ร้อยละ 1.12 และในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 (ม.ค. –มิ.ย.) สหรัฐอเมริกา ยังคงนำเข้าข้าวจากไทยเป็นอันดับ 1 มีมูลค่าถึง 236.89 ล้าน เหรียญสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.53 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนเดียวกันของปี 2557 ร้อยละ 5  ส่วนการนำเข้าข้าวจากประเทศไทย สหรัฐอเมริกานำเข้าข้าวจากไทยส่วนใหญ่จะเป็น ข้าว Milled Rice หรือข้าวที่อเมริกามีการนำเข้ามากที่สุด นำเข้าร้อยละ 95.25 รองลงมาคือ ข้าว Broken Rice อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกของไทยก็มีการลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากการเพิ่มของคู่แข่งขันประเทศเพื่อนบ้านจึงทำให้มีการเจาะเน้นตลาดผู้ประกอบการอาหารกันมากเพราะจำเป็นต้องใช้ทุนสำรองซื้อข้าวเกรดรองมาประกอบธุรกิจ และนี่ก็น่าจะสามารถปิดช่องว่างในตลาดและปัญหาการปลอมปนข้าวไทยที่มีอยู่ในตลาดได้อีกด้วย

 

 

กลุ่มผู้บริโภคสำคัญของสหรัฐอเมริกา  

 

มีอยู่ 3 กลุ่ม กลุ่มแรกก็จะเป็น “กลุ่มเป้าหมายหลัก” จะเป็นเชื้อสายเอเชียนิยมบริโภคข้าวเป็นหลักใช้ข้าวประกอบอาหารได้เป็นอย่างดี อย่างประเทศจีน ไทย เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน หลักๆ นิยมทานข้าวหอมมะลิ และข้าวบาสมาติ กลุ่มเป้าหมายรอง ชาวอเมริกัน จะมีการทานข้าวพร้อมกับอาหารหลักโดยจะออกไปรับประทานนอกบ้าน “และกลุ่มเป้าหมายศักยภาพ  เป็นพวก ฮิสแปนิค มีการบริโภคข้าวใกล้เคียงกับคนไทยด้วยเหตุผลการดูแลสุขภาพ

 

 

ช่องทางการจำหน่ายสินค้าข้าวในสหรัฐอเมริกา

 

ปัจจุบัน การจัดจำหน่ายข้าวในสหรัฐอเมริกา ผู้นำเข้าส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่อยู่ในเอเชีย ก็จะมีกลุ่มลูกค้า Foodservice

รวมถึงโรงงานผลิตอาหารในประเทศ และโดยส่วนมากจะเป็นการจัดจำหน่าย การกระจายสินค้า ผ่านบริษัทผู้นำเข้าและผู้กระจายสินค้า ผ่านร้านค้าปลีก ซุปเปอร์มาเก็ต และร้านอาหารต่าง ๆ จะจัดจำหน่ายภายใต้ของแบรนด์ตัวเอง หากจำเป็นต้องซื้อสินค้ากับรายใหม่ จะต้องออกสินค้าภายใต้ยี่ห้อใหม่ไม่เกี่ยวข้องกับยี่ห้อเดิมเด็ดขาด หากมีความผิดพลาดทางด้านคุณภาพสินค้ายี่ห้อเดิมจะขาดความน่าเชื่อถือทันที ข้าวหอมมะลิของไทยนั้นมีการทำออกมาหลายขนาด เพื่อที่จะให้ผู้ที่นิยมทานได้ถึง 1-2 สัปดาห์ เพราะไม่ต้องซื้อบ่อยครั้ง จุดสำคัญในการทำการตลาดในกลุ่มผู้บริโภคจะนิยมซื้อข้าวไทย ผู้ประกอบการจึงต้องประสานงานกับทางร้านค้าปลีก ซุปเปอร์มาเก็ต เพื่อทำการตลาดส่งเสริมสินค้าดังกล่าวให้มีการจำหน่ายสินค้าปลีก-ส่ง โดยตรง

 

 

ความนิยมการบริโภคข้าวในสหรัฐอเมริกา

 

ปัจจุบันการดูแลสุขภาพอนามัยก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับอาหารการกิน ต้องมีความสะอาด คุณค่าทางอาหาร โดยส่วนใหญ่ผู้ที่นิยมนั้นจะอยู่ในเมืองที่มีกำลังซื้อสูง การนำข้าวไทยมาแปรรูปเป็นขนมถือว่าเป็นสิ่งดี ทำให้ข้าวนั้นมีคุณค่ามากขึ้น สร้างมูลค่าให้กับสินค้า ข้าวถือว่าเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายอีกด้วย  นอกจากข้าวหอมมะลิแล้วก็ยังมีพวกข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ก็จะเจาะกลุ่มการตลาดได้ อย่างไรแล้ว ทางภาครัฐและเอกชนก็ต้องให้การสนับสนุนให้ความชัดเจน ให้ข้าวหอมมะลิไทยมีความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคควรจะมีตราหรือสัญลักษณ์เพื่อแสดงเห็นถึงมาตรฐานยกระดับของข้าวไทยให้เหนือกว่าประเทศอื่น ๆ ด้วย

 

ตลาดข้าวในประเทศสหรัฐอเมริกาในอนาคตถือว่ายังคงขยายตัวไปได้ดี โดยเฉพาะกลุ่มประชากร“ฮิสแปนิค” ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และหันมารับประทานอาหารรักษาเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ช่องทางการตลาดของสหรัฐอเมริกามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถึงอย่างไร ไทยก็ยังคงเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ให้กับสหรัฐอเมริกา แต่ก็อาจมีแนวโน้มลดลงได้เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องเริ่มแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งต้องการหาช่องทางเจาะกลุ่มเป้าหมายในสหรัฐอเมริกา เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดดังกล่าวได้ก็น่าจะ สามารถปิดช่องว่างในตลาดและปัญหาการปลอมปนข้าวไทยที่มีอยู่ในตลาดได้อีกด้วย