แนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคกาแฟของกลุ่มคนรุ่นใหม่ : กองบรรณาธิการ SMART SME

Nanyarath Niyompong

ยุคปัจจุบัน กาแฟถือได้ว่าเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีความสำคัญต่อการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดื่มที่ประชาชนทั่วโลกนิยมบริโภคในชีวิตประจำวันและมีมูลค่าการค้าขายสูงเป็นอันดับที่สองของโลก และปัจจุบันอุตสาหกรรมกาแฟก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แนวโน้มการบริโภคยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แนวโน้มอุตสาหกรรมกาแฟโลก

 

–  การขยายตัวทางเศรษฐกิจกับความต้องการบริโภคกาแฟโรบัสต้า จากการทำงานที่เร่งรีบในแต่ละวันทำให้กาแฟกลายเป็นเสมือนเครื่องดื่มที่คนทำงานนิยมดื่ม เพื่อช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่ามีความพร้อมในการทำงานในประจำวัน ส่วนผู้บริโภคในประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง นิยมบริโภคกาแฟสำเร็จรูปที่มีราคาถูกและใช้เวลาชงได้รวดเร็ว ทำให้ความต้องการกาแฟโรบัสต้า จึงเป็นปัจจัยหลักทำให้กาแฟโรบัสต้าเป็นเครื่องดื่มในชีวิตประจำวันของคนวัยทำงาน

 

–  ความสำเร็จของตลาดเครื่องชงกาแฟประเภท Capsule ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตลาดกาแฟประเภท Capsule ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยบริษัท Nestle เครื่องชงกาแฟประเภท Capsule ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์อย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เครื่องชงกาแฟประเภท Capsule ภายใต้แบรนด์ Nespresso มียอดจำหน่ายในกลุ่มประเทศแถบยุโรปตะวันตก เพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วง 4 ปี และมีราคาถูกกว่าเครื่องชงกาแฟแบบปกติ ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยินดีที่จะซื้อมาใช้

 

–  แนวโน้มราคากาแฟโลก คาดว่า ความต้องการบริโภคกาแฟในปีการผลิต 2557/58 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ขณะที่อุปทานกาแฟมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 3.8 ขณะที่ประเทศบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตกาแฟอันดับ 1 ของโลกอ่อนค่าลง ส่งผลให้ราคากาแฟอาราบิก้าและโรบัสต้าเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 อยู่ที่ 169 และ 99 เซนต์ต่อปอนด์ ลดลงร้อยละ 12 และร้อยละ 6 ในช่วงเดียวกัน

 

 

พฤติกรรมการบริโภคกาแฟที่น่าสนใจในปัจจุบัน  

 

–  กาแฟที่ใช้ผลิตภัณฑ์อื่นเป็นส่วนผสมแทนนมวัว ในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นผู้บริโภคกาแฟแทนนมวัวไม่รับประทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์  ผู้บริโภคส่วนมากใช้ผลิตภัณฑ์อื่นเป็นส่วนผสมแทนนมวัว อาจจะใช้นมถั่วเหลืองแทน แต่ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพืชสามารถใช้ทดแทนได้  อย่างนมมะพร้าว และนมอัลมอนด์ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ชงกาแฟมีโอกาสคิดค้นเมนูใหม่ ๆ เอเจาะตลาดผู้บริโภคได้มากขึ้น

 

–  ร้านกาแฟแบบ Drive-Thru  อย่างร้านกาแฟอย่าง  Starbucks เป็นร้านระดับโลก นิยมเปิดมากขึ้น ในประเทศสหรัฐฯ ส่วนในเชียก็นิยมเปิดที่ มาเลเซียและไทย เพราะการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ในการเดินทางจึงต้องการความสะดวกรวดเร็วในการซื้อกาแฟ จึงทำให้ร้านกาแฟแบบ Drive-Thru มีโอกาสขยายตัวมากขึ้น

 

–  กาแฟคุณภาพ (Specialty Coffee)  จากการเพาะปลูกทั่วโลก ผู้บริโภคมีความรู้ในการเลือกกาแฟเพิ่มขึ้น ทำให้การเลือกกาแฟ และการเลือกแหล่งเพาะปลูกที่หลากหลาย เพราะต้องการกาแฟที่มีรสชาติใหม่ ๆ ที่ดี ทั้งนี้ยังต้องขึ้นอยู่กับสายพันธ์ของกาแฟด้วยจึงทำให้กาแฟที่มีชื่อเสียงนั้นมีราคาแพงกว่ากาแฟทั่วไป  นอกจากวิธีการเก็บเกี่ยวและขั้นตอนการแปรรูปเบื้องต้นแต่ละแบบก็ให้กาแฟมีรสชาติที่แตกต่างกันได้

 

สำหรับโอกาสของการส่งออกกาแฟของไทย  การส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นจากปีที่ผ่านมา ไทยมีปริมาณผลผลิตเพียงราวร้อยละ 0.6 ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะไม่ได้เป็นผู้ดูแลเองทั้งหมด ส่วนผลิตภัณฑ์ส่งออกส่วนใหญ่จะเป็น “กาแฟสำเร็จรูป” ซึ่งคิดเป็นปริมาณ 97-98% ของมูลค่ากาแฟที่ส่งออกทั้งหมด (243 ล้านบาท สำหรับปี 2014 ที่ผ่านมา) อีกทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มการขยายตัวสูงสุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปของไทยมีจุดเด่นในเรื่องรสชาติและความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย  จะเน้นตลาดในประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก เช่น พม่า (25%) เวียดนาม(15%) กัมพูชา (13%) เป็นต้น  สายพันธ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ โรบัสต้า  มีการส่งออกกาแฟไปยังต่างประเทศในปริมาณ 50-100 ตันต่อปี จากการผลิตกาแฟในปริมาณ 500-1000 ตันต่อปี ซึ่งกาแฟจากหลายแหล่งเพาะปลูกของไทยต่างเคยได้รับรางวัลประกวดระดับนานาชาติมาแล้ว สอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคกาแฟยุคใหม่ของโลกที่ต้องการทดลองกาแฟคุณภาพจากหลากหลายแหล่งเพาะปลูกทั่วโลก จึงถือเป็นโอกาสส่งออกกาแฟของไทยที่ไม่ได้เน้นปริมาณ แต่เน้นที่คุณภาพกาแฟเป็นหลัก

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ