การลงทุนในเมียนมา ต่ออาศัยการลงพื้นที่บ่อย ๆ ของผู้ประกอบการ ร่วมถึงการสำรวจวิถีพื้นเมืองของชาวเมียนมาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ต้องไม่ลืมการศึกษากฎหมาย และภาษี และหาคู่ค้าเป็นชาวเมียนมาเอาไว้ด้วย
สาธารณะรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประเทศน่าลงทุนอีกหนึ่งประเทศใน AEC ด้วย จำนวนประชากรประมาณ 56,400,000 คน ประกอบด้วย ชาติพันธุ์พม่า ไทใหญ่ กะเหรี่ยง ยะไข่ จีน มอญ คะฉิ่น อินเดีย ชิน และคะยา เป็นต้น ในด้านเศรษฐกิจชาวเมียนมา ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และน้ำมันปิโตรเลียม ร่วมถึงอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่างของเมียนมาอีกด้วย เมียนมาเป็นประเทศที่มีชายแดนติดต่อกันกับประเทศไทย ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยในหลาย ๆ ธุรกิจสามารถเข้าไปลงทุนได้ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งนี้สิ่งที่ต้องทำก่อนไปลงทุน ในสาธารณะรัฐแห่งสหภาพเมียนมา คือ
1. การลงพื้นที่บ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับสถานที่ ถือเป็นการสำรวจพื้นที่ แล้วสร้างเครือข่าย พร้อมทั้งเป็นการสังเกตการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของเมียนมาไปในตัว เนื่องจากเมียนมาเป็นประเทศที่กำลังมีการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ และสาธารณูปโภค อย่างมากจึงอาจส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
2. สำรวจสภาพตลาด ศึกษาพฤติกรรม และวิถีชีวิตของชาวเมียนมา นอกจากจะช่วยให้ผู้ประกอบการปรับตัวเอง และธุรกิจให้เข้ากับพื้นที่ได้แล้วยังส่งผลให้การเจรจาธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นอีกด้วย
3. วิเคราะห์ความต้องการพื้นฐานของผู้บริโภค การวิเคราะห์ความต้องการพื้นฐานผู้บริโภคจะช่วยให้ผู้ประกอบการเปิดตลาดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากจะสามารถผลิตสินค้า หรือบริการออกมาได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคได้ดี
4. พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า – ส่งออก รวมทั้งข้อมูลภาษีต่าง ๆ เรื่องของกฎหมายและภาษีนำเข้าเป็นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกเป็นจำเป็นต้องศึกษาประเทศคู่ค้าอย่างชัดเจน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นผลประโยชนที่ผู้ประกอบการจะได้ หรือเสียไปในระหว่างการทำธุรกิจนั่นเอง
5. หาคู่ค้าที่เป็นชาวเมียนมา การหาคู่ค้าจะช่วยให้ผู้ประกอบการ สามารถการหลีกเลี่ยงปัญหาในด้านกฎหมายที่ไม่อนุญาตให้ต่างชาติเข้าทำธุรกิจโดยเป็นเจ้าของ 100% ได้
สำหรับอุปสรรคต่อการลงทุน คือ
– แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ
– ระบบการเงินยังไม่เอื้อต่อการค้าและการลงทุน โดยจะใช้ลักษณะ Barter Trada คือ ไม่อนุญาติให้ส่งผลกำไรออกนอกประเทศ แต่อนุญาติให้ส่งเป็นสินค้าออกนอกประเทศได้
– ปัญหาด้านโลจิสติกส์ในการขนส่งสินค้า
– ข้อมูลด้านธุรกิจมีจำกัด ขาดการรวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นฐานข้อมูลที่เหมาะสม
– ราคาที่ดินในเขตเมืองราคาแพง
– กฎหมายบางข้อขัดแย้งกันเอง
– โครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคยังไม่เพียงพอ