Startup Corner ตอนที่ 12 : 6 การบ้านที่ต้องทำก่อนการระดมทุน ตอนที่ 2/3

พงศ์พีระ ชวาลาธวัช

ในตอนที่แล้วเราว่าถึงการบ้านสองสิ่งที่ต้องทำก่อนการระดมทุนไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาด สินค้า และความคิดของลูกค้า รวมไปถึงการวาง concept ให้เข้าใจง่ายในการ pitching ของ Startup ที่เรากำลังจะทำ วันนี้เราจะมาลงลึกกันในเรื่องวิธีการ presentation ว่าต้องมีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นการบ้านชิ้นที่สาม สี่ และ ห้านั้นเอง

ในตอนที่แล้วเราว่าถึงการบ้านสองสิ่งที่ต้องทำก่อนการระดมทุนไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาด สินค้า และความคิดของลูกค้า รวมไปถึงการวาง concept ให้เข้าใจง่ายในการ pitching ของ Startup ที่เรากำลังจะทำ วันนี้เราจะมาลงลึกกันในเรื่องวิธีการ presentation ว่าต้องมีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นการบ้านชิ้นที่สาม สี่ และ ห้านั้นเอง

Slides Presentation สำหรับนำเสนอตัวธุรกิจของเรา ซึ่งผมขอแนะนำให้ทำให้ออกมาดีถึงดีมาก ถ้าต้องจ้างนักออกแบบก็ต้องจ้าง อย่าประหยัดกับงบตรงนี้เพราะเป็นหน้าตาและความประทับใจแรกของผู้พบเห็น ซึ่งผมได้คุยกับนักลงทุนหลายท่าน เขาถึงขนาดตัดสินธุรกิจกันตรงที่ความตั้งใจในการเตรียมการนำเสนอและ Slide เลยน่ะครับ ผมจึงขอลงลึกไปอีกถึง Step ขั้นตอนของการออกแบบ Slide นำเสนอมีดังนี้ครับ
1. Pain คือ ปัญหาหรือความเจ็บปวดของสิ่งที่เราต้องการแก้ปัญหา เช่น ถ้าเราต้องการแก้ปัญหารถจักรยานหายด้วยสิ่งประดิษฐ์ของเรา เราก็ต้องบอกว่า Pain ของตลาดคือทุกวันนี้รถจักรยานในประเทศไทยหายกันชั่วโมงละคัน ถ้านับเป็นปีก็เป็นจำนวน 8,760 คันซึ่งตีมาเป็นมูลค่าความสูญเสียมวลรวมได้มากถึง 87,600,000 บาท เพราะฉะนั้น ถือว่าเป็นความเสียหายที่จับต้องได้และมีการตีตัวเลขความเสียหายที่ชัดเจนซึ่งตามหลักแล้วต้องมีแหล่งที่มาให้ทราบด้วยว่าตัวเลขหรือข้อมูลอ้างอิงนั้นมาจากแหล่งใด
2. Solution คือ วิธีที่เราจะแก้ ซึ่งเราสามารถบอกเป็นบริการหรือ สินค้าก็ได้ แต่ในที่นี้เราสามารถบอกเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ป้องกันรถจักรยานหาย ได้ว่ามันสามารถป้องกัน ติดตามจับขโมยได้ ดีอย่างไรบ้าง มีรูปหรือภาพร่างเบื้องต้นประกอบเพื่อให้เห็นภาพทุกครั้งที่พูดเรื่อง Solution หรือยิ่งมีตัวประดิษฐ์ต้นแบบก็ยิ่งดี
3. Market คือสภาพการของตลาด ซึ่งอ้างอิงจากข้อก่อนหน้า สมมุติว่าเครื่องป้องกันรถจักรยานหาย เครื่องละ 5,000 บาท และจำนวนรถจักรยานที่มีศักยภาพแพงพอที่จะคุ้มค่าแก่การป้องกันมีอยู่ 1 แสนคัน เท่ากับว่าเราก็นำ 1 แสนมาคูณกับ 5พันบาท ก็จะได้มูลค่าทางการตลาดง่าย ๆ ว่า 5 ร้อยล้านบาทในอัตราเติบโตที่ 20% ทุกปี ซึ่งตัวเลขตรงนี้นักลงทุนจะนำไปวิเคราะห์ต่อในเรื่องของคู่แข่งและการลงทุน การคืนทุนและการเจิญเติบโตของบริษัทในลำดับต่อไป
4. Financial Milestone คือกราฟการเจริญเติบโตของยอดขายในแต่ละช่วงปี เช่น 3-5 ปี และอาจจะเพิ่มข้อความไปด้วยว่า ในแต่ละปีได้เตรียมกลยุทธ์อะไรบ้าง เพื่อให้เกิดตัวเลขตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
5. Management คือ หน้าแนะนำตัวของผู้ก่อตั้งและผู้ร่วมก่อตั้ง ซึ่งผมไม่แนะนำให้พูดอะไรเยอะแยะ เพียงแค่ชื่อ จบอะไรมา เก่งฉกาจด้านไหนเป็นพิเศษ พอแล้วครับ
6. Proposal / Offers คือข้อเสนอชี้ชวนการลงทุนพร้อมผลตอบแทน มาพูดกันถึงข้อชี้ชวนการลงทุนก่อน ซึ่งควรจะมีตัวเลขเช่น บริษัทนี้ภายใน 3 หรือ 5 ปีจะเติบโตเพียงใด มีผลตอบแทนดีเพียงใด เพียงแต่เราต้องการเงินมาเปิดสายการผลิตในช่วงต้นเป็นเงิน 5 ล้านบาท และต่อด้วยการบอกผลตอบแทนว่า จากเงิน 5 ล้านบาทนี้เรายินดีมอบหุ้นของบริษัทเป็นจำนวน X% พร้อมกับสิทธิการเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริษัท เป็นต้น ซึ่งเงื่อนไขตรงนี้ไม่มีตายตัวน่ะครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ ผลกำไร มูลค่าของเงินลงทุนที่เป็นตัวแปรทำให้การ Offer นั้นมีการแปรผันตาม

การบ้านชิ้นที่สี่ คือหาหลักฐานสนับสนุนความเอาจริงเอาจังของเราเช่น Facebook Page , Website ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปจ้างใครน่ะครับเราสามารถสร้างฟรีได้เลยที่ wix.comและweebly.com และอีกมากมาย , Launching website ในที่นี้ผมขอแนะนำ Launching Page ซึ่งเราสามารถไปเปิดได้ที่ Launchrock.com เพื่อเก็บข้อมูลของคนที่สนใจธุรกิจเราในขณะที่เรายังทำสินค้าออกมาไม่เสร็จได้ครับ ซึ่งหลักฐานบนเว็บพวกนี้จะทำให้ผู้ลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเยอะ โดยเฉพาะถ้า Launching Page ของเรานั้นมีคนเข้ามาแสดงความสนใจมาก เราสามารถนำรายชื่อคนเหล่านั้นออกมาแสดงเป็นหลักฐานได้ว่ามีคนสนใจธุรกิจเรามากแค่ไหน และเมื่อสินค้าของเราผลิตเสร็จเท่ากับว่าเราได้รายชื่อคนที่พร้อมจะเป็นลูกค้าเราได้ทันที

การบ้านชิ้นที่ 5 คือผลิตสิ่งพิมพ์สนับสนุน เช่น นามบัตร และสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ที่เราสามารถใช้ในการสนับสนุนธุรกิจและการระดมทุนของเราได้

ครั้งหน้าเรามาว่ากันถึงการบ้านชิ้นที่หก ซึ่งจะเป็นชิ้นสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้กันเลยครับ

โดย พงศ์พีระ ชวาลาธวัช

อ่าน Startup Corner ตอนที่ 11 : 6 การบ้านที่ต้องทำก่อนการระดมทุน ตอนที่ 1/3 คลิก 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ