อ่านดิจิตอล อ่านสไตล์โซเชียลมีเดีย อ่านผ่านแอพ : ชีพธรรม คำวิเศษณ์

ชีพธรรม คำวิเศษณ์

curiosity การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตมนุษย์ ทำให้คนเราแตกต่างกัน การอ่านเป็นรากฐานไปสู่หลายสิ่ง เช่น จินตนาการ งานเขียน นวัตกรรม เปิดดวงตาสู่โลกใหม่ ๆ นาซ่านำ Curiosity ไปตั้งเป็นชื่อยานสำรวจดาวอังคาร

พ่อผมเคยบอกไว้ การอ่านเป็นรากฐานสำคัญอย่างยิ่งของชีวิตมนุษย์   วันก่อนเห็น คุณสฤณี อาชวานันทกุล Twitter @fringer นักแปลและนักเขียนชื่อดัง โพสทวิตเตอร์คำคมของ อัลวิน ทอฟเลอร์ บอกว่า

คนไม่รู้หนังสือแห่งศตวรรษที่ 21 จะไม่ใช่คนที่อ่านเขียนไม่ได้ แต่ คือคนที่ไม่สามารถเรียนรู้ เลิกรู้ และเรียนรู้ใหม่ – อัลวิน ทอฟเลอร์

The illiterate of the  21 st century will not be those who cannot read and write, but those who cannot learn, unlearn, and relearn

curiosity  การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตมนุษย์ ทำให้คนเราแตกต่างกัน   การอ่านเป็นรากฐานไปสู่หลายสิ่ง เช่น จินตนาการ งานเขียน นวัตกรรม เปิดดวงตาสู่โลกใหม่ ๆ  นาซ่านำ Curiosity ไปตั้งเป็นชื่อยานสำรวจดาวอังคาร

การอ่านต่างจากการชมโทรทัศน์ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นข้อมูลที่ผ่านสายตา แต่ก็ต่างกันในระหว่างสมองและการใช้ความคิด   แพทย์ วิศวะ สถาปนิก นักกฏหมาย  นักบิน ฯลฯ ทุกอาชีพล้วนแต่ต้องอ่านทั้งนั้น ยิ่งบางอาชีพ ต้องใช้การอ่านตำราเป็นหลักเยอะมาก  แม้กระทั่งการเรียนในระดับสูงๆ ก็ต้องใช้การอ่านอ้างอิง

ทุกวันนี้การอ่านในชีวิตทำท่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัย ยิ่งโลกยุคโซเชียลมีเดีย ความรู้ใหม่ๆ  เร็วเท่ากับสมองของมนุษย์แล้ว ยิ่งทำให้เราต้องอ่านมากขึ้น

ผมต้องตกใจมากขึ้นเมื่อเห็นหนังสือชื่อ  How to read a book  ที่อ่านจาก แอพ Scribd  ต้องตกใจเมื่อหนังสือเล่มนี้สอนการอ่าน มีความหนาแบบดิจิตอลถึง 400 หน้า นีกในใจว่า เฮ้ยเรื่องอ่านหนังสือ แค่อ่านทำไมถึงมากขนาดนั้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ฝรั่งให้ความสำคัญกับการอ่านขนาดไหน

เมื่อขึ้นรถไฟ เราจะเห็นชัดเจนไม่ใช่แค่สีผิว เส้นผม รูปร่าง แต่จะรู้เลยว่า คนไหนคนไทยหรือฝรั่ง

ถ้าเป็นฝรั่งจะมีหนังสือเล่มหนาๆ ในมือ  คนไทยเป็นหนังสือพิมพ์  ทักษะในการอ่านแตกต่างกันอย่างชัดเจน  หรือแม้แต่ไปเที่ยวตามชายหาดภูเก็ต หัวหิน ที่ชาวต่างชาติเที่ยวเราก็จะเห็นภาพ ฝรั่งนอนอาบแดด แล้วนอนอ่านหนังสือเงียบ ๆ ใช้วันเวลาพักผ่อนสบาย ๆ อ่านหนังสือใช้ชีวิตเงียบๆ อยู่กับตัวเอง ในขณะที่คนไทยตั้งวงสังสรรค์ดื่มเครื่องดื่มแห่งความสุขกัน

ผมเองก็คือคนไทยคนหนึ่งเหมือนกัน ที่อยากเห็นการสร้างรากฐานการอ่านให้กับคนไทยทุกคน การอ่านในวัยเด็กถึงแม้ผมจะเป็นลูกอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้รับการปลูกฝังมาบ้าง แต่ก็ไม่ได้ลงลึก

ยิ่งในระดับโรงเรียนไม่มาก การอ่านในมหาวิทยาลัยก็เพียงให้อ่านสอบผ่านๆ  แต่ก็โชคดีที่ผมยังชอบอ่านโน่นอ่านนี่ ไปอ่านนิยาย ประวัติศาสตร์ ไปตามเรื่องราว แต่พอมาทำงานในสายสื่อสารมวลชน

จัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ด้วยแล้ว ทำให้ผมต้องอ่านหนักเพิ่มมากขึ้นเพื่อขึ้นไปเล่าเรื่องราวที่อยากนำเสนอทางวิทยุ น้องๆ  ที่ช่วยทำงานก็บอกว่า “อาชีพของพี่นี่คืออ่านหนังสือเข้าไป แล้วใช้น้ำลายพ่นออกมา” ซึ่งก็เป็นความจริงอย่างที่เขาพูด

บทความนี้หรือบล๊อคอยากจะมาเขียนเล่าเทคนิคในการอ่านของผม ในการเตรียมความรู้ใหม่ๆ สำหรับงานเขียนหนังสือ งานสอนโซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์ ว่าผมมีแหล่งความรู้ใหม่ๆ อ่านแบบดิจิตอลมาจากไหนบ้าง ไม่สงวนลิขสิทธิ์ เผื่อใครอยากจะลองไปประยุกต์ใช้ดูบ้างครับ รับรองว่าเป็นความรู้ใหม่ๆ ที่เร็วที่สุดในโลก

  1. อ่านจากแอพ   อ่านจากแอพมีหลายแอพที่ติดตั้งไว้บนไอแพด

1.1 แอพ Ookbee  อุ๊คบีเป็นแอพสัญชาติที่มีหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ ให้อ่านแบบไม่จำกัด มีให้เลือกหลายราคา ถ้าสมัครเป็นรายได้ เข้าใจว่า 349 บาท แต่ผมสมัครผ่าน AIS เหลือเดือนละ 279 บาท จ่ายผ่านพร้อมกับค่ามือถือเป็นรายเดือน  อ่านแบบไม่จำกัดไม่มีลิมิต

เริ่มด้วยตอนเช้า  อ่านหนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, คมชัดลึก, The Nation ภาษาอังกฤษ

,โลกวันนี้  ยังไม่จุใจตามด้วย หนังสือพิมพ์ธุรกิจรายสัปดาห์ ฐานเศรษฐกิจ และ ประชาชาติธุรกิจ

สำหรับนิตยสารเลือกอ่านตามความสนใจ ผมเป็นผู้ชายเลือกอ่านนิตยสาร Playboy ซื้อตามแผงเล่มละ 180 บาท Maxim 100 บาท  GM 100 บาท  Golf Digest 100 บาท ศิลปวัฒนธรรม การเงินธนาคาร  เที่ยวรอบโลก เพื่อนเดินทาง อนุสาร อสท. ฯลฯ สารพัด ที่จะอ่าน ที่สำคัญนิตยสาร Forbes Thailand ซื้อตามแผงเล่ม 180 บาท มีให้อ่าน ยังมีหนังสืออ่านแบบไม่จำกัด นิยายของคุณประภัสสร เสวิกุล นักเขียนซีไรต์อดีตนักการทูตกระทรวงการต่างประเทศ ไม่ให้อ่านแทบจะทุกเล่ม ครั้งหนึ่งผมไปที่ B2S วันนั้นไปเห็นแล้วลืมนำบัตรเดบิตไปปรากฏว่าไม่ได้ซื้อมาเห็นใน ookbee ปรากฏว่า มีแทบจะทุกเล่ม ผมก็เลยไม่ต้องซื้อ นิยายและหนังสือเด็กของสำนักพิมพ์นานมี มีให้ดาวน์โหลดอ่านเป็นร้อยเล่ม  แถมยังมีหนังสือเสียง (AudioBook) ให้ฟังด้วย เผื่อใครเบื่ออ่านใช้ฟังแทน สำหรับภาษาไทยอ่านนิตยสารและหนังสือ เป็นแอพสำหรับอ่านที่พลาดไม่ได้

หรือถ้าหากท่านมีบุตรหลานมีหนังสือค่ายวอลด์ดิสนีย์ให้บุตรหลานฝึกภาษาอังกฤษ ซึ่งถ้าหากไปซื้อที่ร้านขายหนังสือต่างประเทศ เล่มหนึ่งหลายร้อยบาทครับ

1.2 แอพ scribd  เป็นแอพอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ จ่ายรายเดือน 8.99 เหรียญ สมัยก่อน

อ่านแบบไม่มีจำกัด แต่ภายหลังปรับเปลี่ยนไป ให้เหลือเดือนละ 3 เล่ม แต่ถ้าหากเป็นหนังสือที่บรรณาธิการของเขาคัดเลือกแล้วอ่านไม่จำกัด  หนังสือเสียงก็มีให้ฟังเช่นเดียวกัน แต่ที่สำคัญ

Sheet Music หรือโน้ตเพลง มีให้ดาวน์โหลดแบบไม่จำกัด แนวเพลงทุกประเภท คลาสสิค ป๊อบ แจ๊ส

แบ่งประเภทแบบง่ายไปถึงยาก ผมมักจะแนะนำให้เพื่อนๆ บุคคลที่รู้จัก ถ้าลูก ๆ เรียนดนตรี

แนะนำให้สมัครไว้ เพราะมีโน้ตดนตรีให้โหลดฝึกซ้อมไม่จำกัด มีแท็บแล็ต ไอแพดยิ่งสะดวก จอใหญ่ ๆ ซ้อมดนตรีได้อย่างดี แทนโน้ตเพลง  สาเหตุที่เด็ก ๆ ควรมีไว้เพราะหนังสือโน้ตดนตรีมีราคาแพงมาก ไม่ต่ำกว่าเล่มละ 500 บาท ถ้าหากมีแอพ scribd ช่วยประหยัดเงินค่าหนังสือดนตรีได้อย่างดี

ไม่เพียงแค่นั้น คอนเทนต์ใหม่ที่ scribd นำใส่เข้ามา เป็นนิตยสาร ภาษาอังกฤษ เช่น Fortune, BusinessWeek , Time, Newsweek, FastCompany    ฯลฯ ให้อ่านสัปดาห์ต่อสัปดาห์ ถ้าหากใครอ่านนิตยสารภาษาอังกฤษ ช่วยให้อ่านได้สนุกมากขึ้นแถมลดค่าใช้จ่ายค่านิตยสารไปเยอะมาก

1.3 แอพ ISSUU เป็นแอพที่อ่านนิตยสารต่างประเทศฟรี ที่อยากอ่านในโลกมีหมด ดาวน์โหลดมาเก็บไว้อ่านในไอแพดได้ด้วย ผมชอบดาวน์โหลดนิตยสาร Harvard Business Review มาอ่าน

ถ้าซื้อจากร้านหนังสือเล่มละเกือบพันบาททีเดียว  แนะนำให้ดาวน์โหลดมาติดตั้งไว้แล้วอ่านนิตยสารต่างประเทศกัน รับรองมีความสุขสนุกมาก ซึ่งแอพนี้ บก.เก่ง ภาณุพล พสุชัยสกุล ซึ่งจัดรายการวิทยุด้วยกันแนะนำผ่านทางรายการวิทยุเมื่อหลายปีก่อนผมก็เลยดาวน์โหลดและอ่านมาจนถึงทุกวันนี้

1.4  แอพ Kindle เป็นของ amazon.com  เป็นแอพสำหรับอ่านหนังสือ อีบุ๊ค ผู้ใช้สามารถซื้อหนังสือมาอ่านบนไอแพด และที่สำคัญ ต่อการอ่านก่อนที่จะซื้อสามารถดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือมาอ่านก่อนได้ว่าชอบใจหรือเปล่า เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้รู้ว่าหนังสือที่จะซื้อนั้นเป็นความรู้ที่ต้องการหรือไม่ วิธีการดาวน์โหลดตัวอย่างเข้าไปที่เว็บไซค์ amazon.com แล้วเลือกหนังสือ สั่งให้ส่งมาที่ไอแพดหรือแท็บเล็ตเครื่องไหนก็ได้ที่ต้องการติดตั้ง

1.5 แอพ Flipboard เป็นแอพอ่านที่มีความรู้เร็วที่ส่งในโลก เนื่องจากเป็นลักษณะของการส่งฟีดข่าวที่เราติดตามไว้ ที่สำคัญจุดแข็งของ flipboard ให้เราสามารถติดตามแบบหัวข้อที่สนใจได้ทุกเรื่องเช่นถ้าหากเราติดตั้งหัวข้อ (Topics) Social Media ระบบก็จะให้เราอ่านเฉพาะโซเชียลมีเดียโดยจะดึงเรื่องเด่นๆ มาให้อ่านจากโซเชียลมีเดียและเว็บไซค์ที่มีชื่อเสียง

  1. อ่านจาก Twitter  คนไทยใช้ทวิตเตอร์จากสถิติบอกว่าประมาณ 5 ล้านคน เป็นโซเชียลมีเดียที่มีความเร็ว ผู้ไปสอนหนังสือหลายหน่วยงานยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของทวิตเตอร์ทั้งที่เป็นเครื่องมือสื่อสารที่เร็วที่สุดในโลก  นักข่าวในประเทศไทย ใช้ทวิตเตอร์ผมคิดว่าติดอันดับโลก ไม่แพ้ประเทศใดเลย ผมได้รวบรวมนักข่าวที่ใช้ทวิตเตอร์ในประเทศไทยเกือบ 800 ท่านแล้ว ซึ่งทวิตเตอร์เป็นแหล่งที่เกิดของข้อมูลข่าวสารก่อนวิทยุ ทีวี หนังสือพิมพ์และนิตยสาร เช่นสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้

ถ้าเราเข้าไปที่ระบบค้นหาของทวิตเตอร์แล้วพิมพ์ แฮชเทค #น้ำท่วมภาคใต้ เราจะเห็นความเคลื่อนไหวของข่าวสารว่าน้ำท่วมที่ไหนบ้าง และล่าสุดกระแสของน้องน้ำตาลที่ไปประกวดนางงามจักรวาลกลายซึ่งกลายเป็นกระแสในประเทศไทยก็เกิดจากทวิตเตอร์และช่วยไปโหวดผ่านแฮชเทค

#missuniverse #thailand  ทำให้เกือบคว้าตำแหน่งนางามจักรวาลเพื่อเข้ารอบ 6 คนสุดท้าย

ยิ่งถ้าหากเป็นความรู้ด้วยแล้ว เราสามารถติดตามความรู้ผ่านทวิตเตอร์เช่นผมชอบเรื่องงานเขียน

ก็ติดตามแฮชเทค #writing  และถ้าเป็นเรื่องโซเชียลมีเดียผมติดตามแฮชเทค #socialmedia

ซึ่งรวดเร็วมีคนทวึตจากทั่วโลกสองแฮชเทคที่ผมติดตามทุกวินาที ถือว่าเป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่เร็วที่สุดในโลก ยิ่งถ้าหากท่านใดใช้โปรแกรม Tweetdeck ติดตามในคอมพิวเตอร์ด้วยแล้วยิ่งสะดวกต่อการอ่านติดตามความรู้และข่าวสารผ่านแฮชเทค

  1. อ่านจาก Facebook  ระบบของเฟซบุ๊ค มาร์ค ซัคเกอร์เบริ์ค ผู้ก่อตั้งได้กล่าวถึงปรัชญาของเฟซบุ๊คก็คือเรื่องของความสัมพันธ์ของผู้คนที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เราสามารถติดตามความรู้ของเฟซบุ๊ค

สองแบบคือเฟซบุ๊คส่วนบุคคลที่เรารู้จักหรือไปกดติดตามอ่านความรู้ และเฟซบุ๊คแฟนเพจ

คนไทยใช้เฟซบุ๊ค 30 ล้านคนเห็นจะได้จากตัวเลข ถ้าหากได้ติดตามความรู้อ่านจากเฟซบุ๊คที่มีประโยชน์ จะทำให้ความรู้ข่าวสารใหม่มาก ๆ

การอ่านในโลกปี 2560 เป็นการอ่านดิจิตอล สื่อโซเชียลมีเดียได้เข้ามามีบทบาทต่อโลกการอ่าน

และการเรียนรู้ใหม่ ๆ การอ่านดิจิตอลถ้าอ่านเป็นนิสัย ผมเชื่อว่าท่านจะเป็นคนทันสมัย ต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกใบใหม่ที่ความเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเท่ากับสมองของมนุษย์อย่างที่บิลเกต

ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟต์เคยเขียนไว้ในหนังสือ Business @ The Speed Of Thought เมื่อ 17 ปีผ่านมาเมื่อครั้งโลกมีอินเทอร์เน็ตแต่ยังไม่มีโซเชียลมีเดียและสมาร์ทโฟน

ถ้าท่านใดกำลังจะซื้อไอแพดหรือเปลี่ยนแท็บเล็ต เน้นจอใหญ่นิดนึง ความเร็วเยอะหน่อย รับรองมีความสุขกับการอ่านครับ

ชีพธรรม คำวิเศษณ์