We are Storyteller เล่าชีวิต โดย ชีพธรรม คำวิเศษณ์

ชีพธรรม คำวิเศษณ์

เสียงเพลงหยาดเพชร บรรเลงด้วยไวโอลิน ผสมผสานกับเปียโน ยามเช้า

เสียงไวโอลิน หวานซึ้ง บ่งบอกถึงความงดงามของความรักที่ผู้ชายมีต่อผู้หญิงว่าเธอมีความหมายกับเขาอย่างไร เพลงหยาดเพลงแต่ในปี พ.ศ. 2508 คำร้องโดยครูชาลี อินทรวิจิตร ทำนองโดยคุณสมาน กาญจนผลิต ขับร้องโดยคุณชรินทร์ นันทนาคร ในภาพยนต์เรื่อง เงิน เงิน เงิน

เสียงเปียโนคลอเบาๆ  เครื่องดนตรี 2 ชิ้นนี้ทำให้บทเพลงเพิ่มอรรถรสในการฟังยิ่งขึ้น และสร้างแรงบันดาลใจด้านการเขียนได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญผมอยากจะเขียนถึงเพลงหยาดเพชรเพราะเป็นเพลงที่มีความหมายอย่างยิ่งกับแรงบันดาลใจหลายอย่างในชีวิตของผม

ในโลกของโซเชียลมีเดียที่ทุกมนุษย์ทุกคนสามารถสร้างเนื้อหาคอนเทนต์ได้ด้วยตนเอง  ความจริงแล้วชีวิตของมนุษย์ทุกคนเป็นบทละครที่เราใช้ชีวิตจริงของเราเป็นผู้เล่นเป็นผู้แสดงเอง เพียงแต่เราไม่ได้ออกสื่อและนำเสนอพล๊อตเป็นเหมือนบทละครเป็นตอนๆ ในทีวี

ละครแห่งชีวิต ไม่มีวันจบเหมือนกับละคร ซีรีย์ในโทรทัศน์ แต่ต้องแสดงไปเรื่อยๆ จนหมดลมหายใจไม่ว่าจะเป็นใครในโลกก็ตาม

 

สตีเว่น สปิลเบอร์  หรือผู้กำกับหนังละคร  บุคคลเล่านี้เป็นนักเล่าเรื่องทั้งนั้น

เขาอยากจะเล่าอะไรก็ทำเป็นหนัง   แต่สำหรับคนธรรมดาแบบพวกเราๆ ท่านๆ ก็

นำเสนอว่าเราอยากเล่าเรื่องอะไร เราก็เล่าออกไปเลย

 

We are storyteller. เป็นคำพูดของผู้เชี่ยวชาญการเขียนบทละครด้วยตนเอง ผมนำแรงบันดาลใจนี้มาเขียนเพื่ออยากให้ทุกคนได้ลองฝึกฝนเล่าเรื่องราวชีวิตและสายตาของตัวเอง ผ่าน Facebook Live เครื่องถ่ายทอดสดของ Facebook ที่อยู่บนสมาร์ทโฟนของเราเอง

 

การเล่าเรื่องในแบบ  Facebook Live ไม่ได้มีความซับซ้อนหรือใช้ทฤษฏีการสื่อสารอะไรมากมาย

ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องทราบ ง่ายๆ เพียงแค่ เรามีแรงบันดาลใจอยากจะเล่าเรื่องและนำเสนออะไรไปเท่านั้น เนื้อหาสาระบนโลกโซเชียลมีเดียไม่ได้ต้องการอะไรมาก ไม่ต้องการพิธีกรรมในการตัดต่อมากมาย เรานำเสนอให้เพื่อนของเราใน Facebook ได้ทราบสิ่งที่เราอยากจะนำเสนอ

 

ผมเชื่อเลยว่าหลายคนยังไม่เคยลองใช้เครื่องมือ Facebook Live ถ่ายทอดสด เพราะผมเป็นอาจารย์สอนโซเชียลมีเดีย เห็นมาหลายชั้นเรียนที่ไปบรรยาย  รวมถึงแม้แต่ผู้สื่อข่าวอาวุโสหลายท่าน ที่อยู่ในสายโทรทัศน์ก็ยังไม่เคยลองถ่ายทอดสด

ผมเคยบอกกับพวกเขาว่า “จุดอ่อนเป็นจุดแข็ง จุดแข็งเป็นจุดอ่อน” หมายความว่า

จุดอ่อนคนธรรมดา ที่ไม่เคยอยู่ในสายงานนิเทศศาสตร์นำเสนอเล่าเรื่องราว ทำได้เก่งกว่า

คนที่อยู่สายงานนี้ ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่า เฟซบุ๊คแฟนเพจ หลายแห่งนั้น มีผู้ติดตามหลายแสนคน

ทำได้ดีมาก ๆ  กว่าคนอยู่ในสายอาชีพ และ จุดแข็งเป็นจุดอ่อนก็คือ คนที่อยู่ในสายงานนิเทศศาสตร์จะนำเสนอหรือรายงานต้องมีกล้องหรือจัดวิทยุก็ต้องจัดในห้องส่ง ไม่สามารถจะหยิบสมาร์ทโฟนมาเล่าเรื่องราวที่อยากนำเสนอได้

 

มาเริ่มกันเลยง่ายๆ เพียงแค่ไปที่ปุ่มถ่ายทอดสด เหมือนกับเราจะโพสเฟซบุ๊กแบบปกติครับ

ที่เขียนว่า Live คลิ๊กเข้าไป อย่าลืมเขียนคำอธิบายลงไปด้วยว่าเรากำลังจะเสนอหรือเล่าเรื่องอะไร

เพื่อให้เพื่อนๆ ได้เห็น จากนั้นก็หันหน้ากล้องเข้ามา เปิดกล้องด้วยใบหน้าของเรา แล้วพูดว่าเรากำลังจะเล่าเรื่องอะไร จากนั้นก็กดปุ่มหันหน้ากล้อง แล้วเล่าเรื่องตรงหน้าที่เราพบเห็น

 

เห็นอะไรก็เล่าไป พากย์ไปพูดไป ใส่เสียงลงไปกับภาพและสายตาที่เราเห็น พูดให้ยาวๆ เข้าไว้ก่อน

ถ้าหากเราพูดสั้นๆ หมายความว่า เรายังไม่มีความรู้และข้อมูลเพียงพอในสิ่งที่เรากำลังจะเล่าต่อไป

ถ้าหากเราไม่มีข้อมูลเพียงพอ ก็ให้เตรียมอ่านข้อมูลไปก่อนแล้วเล่าเรื่องง่ายที่สุดก็คือรีวิว สถานที่ท่องเที่ยวที่เราไป , นั่งคุยกับเพื่อน , เบื้องหลังงานต่างๆ

 

ไม่ต้องสนใจว่ามีคนมากหรือน้อย  แต่ให้สนใจที่เรากำลังอยากจะเล่าเรื่องนำเสนออะไรอย่างแรงกล้า

เพื่อให้เพื่อนหรือผู้ชมได้ชมในสิ่งที่เราอยากจะเล่าเรื่อง  ให้เราจำลองจินตนาการ ตัวเองเหมือนเป็นผู้กำกับหนังไปเลย

 

สิ่งที่ผมชอบที่สุดก็คือ ถามเพื่อนว่ามีความทรงจำอะไรเกียวกับตัวของผมในอดีตบ้าง

ทำให้เราสามารถเข้าถึงอดีตของเรา

 

ล่าสุดผมเดินทางไปสอน แหล่งท่องเที่ยวชุม OTOP หมู่บ้านช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ สอนการเปิดเฟซบุ๊คแฟนเพจ ให้ชาวบ้านได้ใช้เครื่องมือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและสินค้าชุมชนที่ขายอยู่

แล้วฝึกให้พวกเขาได้ลองเล่าเรื่องผ่าน Facebook Live แทนที่จะเป็นการโพสข้อความแบบเดิมๆ ในโลกใบเก่าที่เหมือนกับการส่ง Line

 

ข้อดีของ Facebook  Live  เปรียบเทียบการการโพสรูปและข้อความ

ระบบของ Facebook Live  จะทำให้ปล่อย Feed  ข้อความมากกว่าเราโพสภาพและข้อความปกติ

ซึ่งถ้าเราอยากให้สิ่งที่เราทำการนำเสนอมากขึ้นก็ต้องใช้การถ่ายทอดสด ในการเล่าเรื่องที่เราจะนำเสนอ

 

มนุษย์ทุกคนมี Nostalgia (ความทรงจำ) ที่อยากจะเล่าเรื่อง มีทั้งดีและร้ายเพราะฉะนั้น

 

สไตล์การเล่าเรื่องของผมผ่านสมาร์ทโฟน

เริ่มถ่ายทอดสด จาก Facebook Live จากนั้น ไฟล์วีดีโอจะมีการบันทึกอัตโนมัติลงเครื่องสมาร์ทโฟน จากนั้น ผมจะทำการนำคลิปวีดีโออัพโหลดขึ้นไปที่ youtube.com/trimemory

ทำให้เรามี คอนเทนต์ กระจายไปใน 2 โซเชียลเน็ตเวิร์ค ทั้ง Facebook และ Youtube

ซึ่งเป็นโซเชียลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย

 

ขอให้ทุกท่านได้ลองฝึกเป็นนักเล่าเรื่อง  We are stoyteller ผ่าน Facebook Live

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ