บาป มหันต์ หากทำ “การตลาด แบบ 1 P” (จาก 54 Ps)
วิชาการตลาด (Marketing) เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่เมื่อไรนั้น ไม่มีบันทึกที่เป็นหลักฐานชัดเจน
ในปี ค.ศ. 1900 หากค้นคว้าใน Webster Dictionary ก็ยังไม่มี ศัพท์ คำว่า การตลาด (Marketing) จนกระทั่ง ถึง ปี ค.ศ. 1910 Webster Dictionary จึงได้ระบุ คำว่า การตลาด ไว้
นับตั้งแต่หนังสือ Marketing Management เล่มแรก ของ ศ.ฟิลิป คอตเลอร์ ในปี ค.ศ.1967 เป็นต้นมา หลักการ และแนวความคิดทางการตลาด ก็เป็นที่ยอมรับ และแพร่หลายอย่าง กว้างขวาง และ มีการศึกษาและพัฒนา อย่างไม่สิ้นสุด เช่น
จาก Traditional Marketing, Classic Marketing
เป็น Advanced Marketing, Modern Marketing, Affiliate Marketing, Adaptive Marketing, Successful Marketing, Profitability Marketing, Professional Marketing, Transformation Marketing
จนถึง Strategic Marketing, Guerilla Marketing, Winning Marketing, Marketing (as you know) is Dead ฯลฯ
เครื่องมือ การตลาด (Marketing Mix) จึงมีการพัฒนา เช่นเดียวกัน คือ
- 4Ps =Product, Price, Place, Promotion
2. 5Ps, 6Ps, 7Ps, 15Ps
3.24 P’ – Lateral Thinking
1. Product
2. Price
- Place
- Promotion
- Position
- Pool Resources
- People
- Performance Management
- Participation
- Passion
- Packaging
- Physical Handling Planning
- Purpose
- Process
- Pre-Negotiation
- Po – Provoking Operation
- Potential
- Providore – relationship with suppliers
- Public relations
- Purchasers
- Persuasion
- Perception
- Personality
- Project
- 27 Ps
1. Product
2. Price
3. Promotion
4. Place
5. People
6. Process
7. Physical evidence
8. Purpose
9. Purchaser
10. Push/pull
11. Personal relationships
12. Positioning
13. Packaging
14. Persuasion
15. Performance
16. Profitable
17. Proactive
18. Pull together
19. Perform
20. Permission
21. Pain
22. Pleasure
23. Periodic
24. Persistent
25. Partners
26. Psychology
27. Perceptions
จึงเกิด คำถามว่า แนวความคิด หลักการ และเครื่องมือการตลาด ที่ดีที่สุด มีหรือไม่?
ทุกแนวความคิด มีจุดเด่น และเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น ขึ้นกับ ผู้ที่จะนำไปใช้ เข้าใจหลักการ และนำไปประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับ อุตสาหกรรม, ผลิตภัณฑ์, กลุ่มเป้าหมาย ในขอบเขตและบริบท ต่างๆ สร้างเป็นแผนการตลาด ที่ประสบความสำเร็จให้ได้ อย่างไร
แต่ … หาก ใช้หลักการ และเครื่องมือ การตลาด ผิด
ผิดที่ (อุตสาหกรรม, บริษัท, สินค้า, แบรนด์)
ผิดกลุ่มเป้าหมาย (ประชากรศาสตร์, ภูมิศาสตร์, จิตวิทยา, พฤติกรรม)
ผิดเวลา (ปี, เดือน, วัน, ชั่วโมง)
ก็อาจจะเป็น แผนการตลาดที่ พิกลพิการไม่ประสบความสำเร็จ หรือ อาจจะเป็น มหันต์ภัย แก่องค์กร
ซึ่ง ไม่ใช่ทฤษฎี แต่เป็นปัญหา ด้านปฏิบัติการ ทางการตลาด (Not marketing theory, but marketing practice)
โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง นักการตลาด บางคน
ที่ ลด เครื่องมือการตลาด
ลงเหลือ เพียง 1 P (Promotion) เท่านั้น (ไม่ใช้ ให้ครบ ทั้ง 4Ps)
มนต์ชัย สุนทราวัฒน์