จับตาประชุมกนง.11มี.ค.ลดดอกเบี้ยหรือไม่ : ยศศิริ มิตรไพบูลย์

Nanyarath Niyompong

คุณยศศิริ มิตรไพบูลย์ กล่าวว่า ประเด็นในไทยที่ต้องจับตาในสัปดาห์นี้ ก็คือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 11 มีนาคม ว่ากนง.จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงหรือไม่ ทางด้าน ธ.กรุงเทพ เผยว่า การลดดอกเบี้ยไม่ใช่ทางออกสุดท้าย

คุณยศศิริ มิตรไพบูลย์ กล่าวว่า ประเด็นในไทยที่ต้องจับตาในสัปดาห์นี้ ก็คือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 11 มีนาคม ว่ากนง.จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงหรือไม่ ทางด้าน ธ.กรุงเทพ เผยว่า การลดดอกเบี้ยไม่ใช่ทางออกสุดท้าย

ในวันศุกร์ที่ผ่านมา นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กรณีที่หลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้กนง. พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาเงินบาทที่แข็งค่า ยืนยันว่าไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด เพราะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 2% อยู่ในระดับต่ำมาก สาเหตุที่ประชาชนไม่มีการบริโภคเนื่องจากประชาชนมีภาระหนี้สูง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรปรับลดลงมาก

นายกอบศักดิ์  กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าเป็นผลมาจากรายจ่ายในเรื่องของราคาน้ำมันปรับลดลง จาก 1 ล้านล้านบาทต่อปี เหลือเพียง 5 แสนล้านบาทต่อปี เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงมากถึง 50% ส่งผลให้มีเงินสำรองอยู่ในระบบค่อนข้างมาก ดังนั้นการแก้ปัญหาโดยการลดดอกเบี้ยอาจไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง สำหรับด้านการลงทุน สาเหตุที่นักลงทุนยังชะลอการลงทุน เนื่องจากต้องรอความชัดเจนจากภาครัฐ เพราะปัจจุบันยังไม่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจน ดังนั้นการลดอัตราดอกเบี้ยจึงไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าและทำให้เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด 

คุณยศศิริ กล่าวว่า สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นไทยตกลงมาจาก 1,620 จุด ตกลงมาค่อนข้างแรงประมาณ 70 จุด นักวิเคราะห์ต่างชาติมองว่าตลาดหุ้นไทยไม่น่าสนใจแล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจไทยซบเซา มีการขยายตัวในเชิงลบ ผลประกอบการของบริษัทที่จดทะเบียนก็ค่อนข้างแย่ ในมุมของต่างชาติก็ยังมีการขายอย่างต่อเนื่อง ส่วนนักลงทุนสถาบันและ prop trade ก็ขายต่อเนื่องเช่นกัน แต่ในสัปดาห์ที่แล้วนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็ได้มาการเน้นย้ำเรื่องการขยายมาตรการ QE และออกไปซื้อพันธบัตรของรัฐสมาชิกและตอนนี้ก็เป็น QE อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ซึ่งมูลค่ารวมของการซื้ออยู่ที่ 60,000 ล้านยูโรต่อเดือน รวมระหว่างการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและบอนด์เอกชน และอาจจะซื้อทะลุไปถึงปี 2016 ซึ่งรอยเตอร์ได้ไปสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์ได้มองว่า ตลาดครึ่งหนึ่งไม่เชื่อว่าจะทำสำเร็จ คงต้องขยายเวลา QE เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเข้าเป้าของ ECB 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ