Startup Corner วิธีการใช้ Market Validation วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ Startup Idea :พงศ์พีระ ชวาลาธวัช

Nanyarath Niyompong

เมื่อตอนที่แล้วเราคุยกันไปในเรื่องของวิธีการวิเคราะห์ไอเดียต่าง ๆ ที่เราคิดได้ ปกติแล้วผมจะแบ่งวิธีทดสอบไอเดียเป็นสามส่วน ซึ่งวันนี้จะว่าในส่วนที่สาม ว่าแล้วเรามาสรุปวิธีวิเคราะห์ทั้งสามแบบกันก่อน

เมื่อตอนที่แล้วเราคุยกันไปในเรื่องของวิธีการวิเคราะห์ไอเดียต่าง ๆ ที่เราคิดได้ ปกติแล้วผมจะแบ่งวิธีทดสอบไอเดียเป็นสามส่วน ซึ่งวันนี้จะว่าในส่วนที่สาม ว่าแล้วเรามาสรุปวิธีวิเคราะห์ทั้งสามแบบกันก่อน

  1. ส่วนแรก คือการถามจากตัวเอง ซึ่ง อ้างอิงจากประสบการณ์และความรู้ส่วนตัว ส่วนนี้ต้องหาอ่านจากตอนที่แล้วนะครับ
  2. ส่วนที่สอง คือการใช้ Tool ทางการตลาดและเศรษฐศาสตร์ เข้ามาดูความเป็นไปได้เช่น BCG Tool, Porter Tool และ Kotler Tool เป็นต้น ซึ่งไปหาอ่านกันได้นะครับ
  3. ส่วนที่สาม คือส่วนที่ไม่เคยทำให้ผมผิดหวังเลยคือ การออกไปหาความจริงในตลาดเชิงการวิจัยแบบคุณภาพและปริมาณ แต่ใน Startup เราจะใช้วิธี LEAN Validation กันเพื่อ Validate ดูว่าถ้าธุรกิจจากไอเดียของคุณมันขึ้นจริงแล้วจะมีใครมาใช้บริการมันไหม เมื่อมีการเปิดบริการขึ้นมาจริง ๆ ส่วนนี้เรียกว่าเป็นด่านสุดท้ายก่อนจะทำธุรกิจใด ๆ เลยนะครับ

จากตอนที่แล้วผมได้สอนวิธีการตรวจสอบไอเดียเราเสียก่อนว่าพร้อมสำหรับการจะนำลงไปสู่ตลาดจริงหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น SWOT, Porter 5 Forces Analysis และ Idea Validation แต่มีขั้นตอนหนึ่งที่ผมขอนั่งยันนอนยันว่าคุณต้องทำก่อนที่จะปล่อยตัวธุรกิจเข้าไปสู่ตลาดนั้นก็คือ Quick Qualitative (and Quantitative) Market study หรือศัพท์ Startup จะเรียกว่า LEAN Validation ซึ่งเป็นวิธีการตรวจสอบไอเดียของเราแบบเร็ว ถามว่าเร็วแค่ไหน ตัวผมเองเคยทำเร็วสุดและมีประสิทธิภาพพอสมควรในเวลาเพียงแค่ 3 ชั่วโมงได้รับผลตอบรับมาเพื่อพัฒนาต้นแบบถึง 25 ความเห็น การเริ่ม LEAN Validation นั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ ซึ่งผมจะขอพูดทับศัพท์คำว่า ตรวจสอบว่า Validate ไปเลย

  1. Validate จากการสำรวจตลาด วิธีนี้ง่ายเร็วและประหยัด สมมุติว่ามีคนมาบอกผมว่าเค้าอยากทำเว็บเกี่ยวกับการหาคู่ที่การันตีผลลัพธ์ภายใน3เดือนได้คู่ตามที่อยากได้ คุณลองค้นคีย์เวิร์ดในกูเกิลว่า “หาคู่ ภายใน3เดือน” ภาษาไทยยังไม่เจ็บเท่าค้นภาษาอังกฤษเพราะมันเยอะมาก
  2. Validate จากการทำ Mockup หรือสินค้าเทียมเพื่อดูความต้องการ เช่น ถ้าวันนี้ผมอยากทำเว็บหาคู่ ที่การันตีว่าได้ภายใน3เดือนจริง เราก็ทำเว็บนั้นขึ้นมาเลยครับเพียงแต่ยังไม่มีการหาคู่เข้ามาในฐานข้อมูลเพียงแต่ตรวจสอบความต้องการการเข้ามาในเว็บเราก็สามารถวัดความต้องการในเชิงปริมาณได้ว่าถ้าเราเข้าสู่ตลาดจริงจะมีผู้เข้ามาใช้งานเท่าไหร่ ก่อนที่จะเสียเงินไปทำอะไรมาก มากไปว่านั้นเรายังสามารถวัดปริมาณแยกตามเพศได้เช่นมีปุ่มขึ้นมาว่า “ค้นหาเพื่อนผู้หญิง” “ค้นหาเพื่อนผู้ชาย” “ค้นหาเพื่อนเกย์” เราจะสามารถทราบไปถึงว่าเราต้องเริ่มการทำการตลาดกับเพศไหนก่อนที่น่าจะสร้างรายได้ให้กับธุรกิจก่อน
  3. Validate จากการสัมภาษณ์ หรือ Qualitative Interview ซึ่งเป็นแบบที่จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่ายขึ้นอยู่กับศิลปะการพูดเพื่อเค้นความจริงออกมาแบบไม่ให้เป้าหมายรู้ตัวว่าเรากำลังจะถามอะไรเค้าอยู่กันแน่ การสัมภาษณ์แบบต้นฉบับการวิจัยนั้นอาจจะใช้1-2ชั่วโมง แต่ในแบบฉบับ LEAN นั้นให้ถามตามจุดประสงค์ของเราได้เลยว่าต้องการเน้นเรื่องอะไร ซึ่งส่วนใหญ่จะมี3หัวข้อ คือ พิสูจน์ปัญหามีจริงหรือไม่,พิสูจน์วิธีการว่าจริงหรือไม่และพิสูจน์คุณสมบัติพื้นฐานของสินค้า/บริการต่อความต้องการจริงขิงลูกค้า ขั้นตอนแรกให้เราดูที่ไอเดียของเราเสียก่อนว่าไอเดียของเราคืออะไร สมมุติเหมือนข้อข้างบนว่าไอเดียเราคือเว็บหาคู่ เป้าหมายของเราคือ คนที่หาคู่ แต่ใครละที่เราจะสัมภาษณ์ ส่วนตัวผมชอบเริ่มจากคนที่รู้จักแต่อาจจะไม่สนิทมากเพราะถ้าสนิทมากเราอาจจะทำให้เกิดการ Bias หรือการมีอคติหรือลำเอียงของผลที่ได้ ให้สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายให้ได้อย่างน้อยที่สุดคือ 10 คน จนถึง 100 คน ต้องหาบุคคลมาสัมภาษณ์ให้ได้มากพอเพราะยิ่งหาได้มากเราจะได้รับรู้ถึงรูปแบบความคิดความต้องการของกลุ่มเป้าหมายซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มความต้องการในภายภาคหน้าได้ หรือที่เรียกว่า Cluster Needs

ผมขอฝากส่งท้ายนิดนึงว่า ถ้า Startup คนไหนได้อ่านคอลัมน์ผมแล้วรู้สึกว่า เราเองก็มี Startup ที่น่าสนใจ อยากให้ผมไปสัมภาษณ์เพื่อแชร์ความรู้ให้กับเพื่อน ๆ Startup ผ่านทางคอลัมน์ผมก็กระซิบมาทางเพจของผมได้นะครับ ผมยินดีเป็นสื่อกลางให้ทันที ในตอนหน้าเราจะมาว่าด้วยวิธีการเตรียม List คำถามสำหรับการทำ Market Validation นะครับ

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ