Startup Corner : วิธีการใช้ Kotler Decision Making Process วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ Startup Idea :พงศ์พีระ ชวาลาธวัช

Nanyarath Niyompong

เมื่อตอนที่แล้วเราคุยกันไปในเรื่องของวิธีการวิเคราะห์ไอเดียต่าง ๆ ที่เราคิดได้ ปกติแล้วผมจะแบ่งวิธีทดสอบไอเดียเป็นสามส่วน ซึ่งวันนี้จะว่าในส่วนที่สองในอีกเครื่องมือทางการตลาดนึงกันต่อเลยน่ะครับ ว่าแล้วเรามาสรุปวิธีวิเคราะห์ทั้งสามแบบกันก่อน

เมื่อตอนที่แล้วเราคุยกันไปในเรื่องของวิธีการวิเคราะห์ไอเดียต่าง ๆ ที่เราคิดได้ ปกติแล้วผมจะแบ่งวิธีทดสอบไอเดียเป็นสามส่วน ซึ่งวันนี้จะว่าในส่วนที่สองในอีกเครื่องมือทางการตลาดนึงกันต่อเลยน่ะครับ ว่าแล้วเรามาสรุปวิธีวิเคราะห์ทั้งสามแบบกันก่อน

  1. ส่วนแรก คือการถามจากตัวเอง ซึ่ง อ้างอิงจากประสบการณ์และความรู้ส่วนตัว ส่วนนี้ต้องหาอ่านจากตอนที่แล้วน่ะครับ
  2. ส่วนที่สอง คือการใช้ Tool ทางการตลาดและเศรษฐศาสตร์ เข้ามาดูความเป็นไปได้เช่น BCG Tool, Porter Tool และ Kotler Tool เป็นต้น
  3. ส่วนที่สาม คือส่วนที่ไม่เคยทำให้ผมผิดหวังเลยคือ การออกไปหาความจริงในตลาดเชิงการวิจัยแบบคุณภาพและปริมาณ แต่ใน Startup เราจะใช้วิธี LEAN Validation กันเพื่อ Validate ดูว่าถ้าธุรกิจจากไอเดียของคุณมันขึ้นจริงแล้วจะมีใครมาใช้บริการมันไหม เมื่อมีการเปิดบริการขึ้นมาจริง ๆ ส่วนนี้เรียกว่าเป็นด่านสุดท้ายก่อนจะทำธุรกิจใด ๆ เลยน่ะครับ

มาถึงส่วนที่สองกันครับ คือการใช้ Kotler Decision Making Process วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ Startup Idea นั้นเอง

test

ชาร์ตที่ผมวางให้ดูนั้นคือขั้นตอนการตัดสินใจของคนทั่วไปในการจะซื้อของอะไรซักอย่างนึงซึ่งนักเรียนด้านธุรกิจ ป.ตรี โท เอกน่าจะได้เรียนกันครบทุกคน แต่ทีนี้มันเกี่ยวข้องยังไงกับ Startup idea ละ คำตอบคือเกี่ยวอย่างมากครับเพราะเวลาเราต้องวิเคราะห์ไอเดีย เราต้องดูว่ามันเข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค หรือ target group ของเราในชีวิตประจำวันจริงรึเปล่า ที่เรากำลังอ้างว่าอยากแก้ปัญหาให้กับเค้า และถ้าเราทำธุรกิจจากไอเดียของเราออกมา มันจะมีการซื้อซ้ำหรือไม่ หรือถ้าไม่มีการซื้อซ้ำ ธุรกิจคุณจะขยายและอยู่ยากมากขึ้นเยอะครับ ผมขออธิบายภาพนี้ให้เข้าใจก่อนนะครับ

  1. Need Recognition คือการรับรู้ถึงความต้องการตัวเอง เช่น อยากซื้อของแต่ไม่อยากออกไปนอกบ้านเพราะฝนตกรถติด ทำยังไงดี ตรงนี้ถือว่าสำคัญมากเพราะเป็นจุดที่ชี้ชัดเลยว่า ถ้าคนมีปัญหานี้แล้วเค้าจะหาวิธีหรือไม่ หรือว่าแค่ปล่อยไปเพราะเป็นปัญหาเล็ก ๆ กันแน่
  2. Information search คือการเริ่มหาข้อมูลว่าจะทำยังไงดีซึ่งคนทั่วๆ ไปอย่างเรา ๆก็คงจะใช้ Google หรือ Facebook ในการหาวิธีนั้น ๆ ซึ่งอันนี้เป็นจุดที่สองที่ทำให้เราคิดต่อได้ว่าแล้วไอเดียที่เราคิดนั้นมันสามารถไปอยู่ในตามจุดต่าง ๆ ที่ผู้คนเข้าไปหาวิธีหรือไม่
  3. Evaluation of Alternatives คือการเริ่มหาวิธีเปรียบเทียบ ถึงตรงนี้ลูกค้าจะเจอวิธีเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็น จ้างมอเตอร์ไซต์ , ซื้อจากห้างเองให้คนมาส่ง , จ้างจากแอพให้ไปซื้อให้ และอีกเยอะแยะ ซึ่งในภายหลังตรงนี้จะเป้นเป็นจุดที่คุณต้องทำสิ่งที่เรียกว่า Competitor Comparison ออกมาเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าคู่แข่งเพื่อให้ชนะในเวทีแห่งการเปรียบเทียบนี้
  4. Purchase Decision คือ การตัดสินใจซื้อ ซึ่งเป้นจุดที่สำคัญอีกจุดนึง เช่น การซื้อเป็นการซื้อชิ้นเดียว หรือ หลายชิ้น จากไอเดียของเรา ไม่ใช่เพียงแค่ว่าซื้อแล้วจะซื้อยังไงก็ได้ก็จบกัน
  5. Post Purchase Behaviour คือ สิ่งที่ลูกค้ากระทำหลังสั่งซื้อ ซึ่งผมถือว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดในบรรดาทั้ง 5 ข้อ เพราะมันจะสะท้อนให้เห็นได้ถึงคุณภาพของไอเดียเลย เพราะถ้ามันแก้ปัญหาได้จริง ดีกว่าคู่แข่งจริง ลูกค้าจะมีทั้งการบอกต่อ และซื้อซ้ำซึ่งเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจทุกอย่างครับ

ผมขอฝากส่งท้ายนิดนึงว่า ถ้า Startup คนไหนได้อ่านคอลัมน์ผมแล้วรู้สึกว่า เราเองก็มี Startup ที่น่าสนใจ อยากให้ผมไปสัมภาษณ์เพื่อแชร์ความรู้ให้กับเพื่อน ๆ Startup ผ่านทางคอลัมน์ผมก็กระซิบมาทางเพจของผมได้น่ะครับ ผมยินดีเป็นสื่อกลางให้ทันที ในตอนหน้าเราจะมาว่าด้วยวิธีการทำ Market Validation สำหรับ Startup ในส่วนที่สามกันครับ

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ