เวียดนามเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา มีประชากรจำนวนมากกว่า 90 ล้านคน ผลิตภัณฑ์ (GDP) มีมูลค่าที่ 184 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนในปี 2558 รายได้ต่อหัวเฉลี่ย 2,028 เหรียญสหรัฐฯต่อปี ส่วนของภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเวียดนามกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ชาวเวียดนามมีแนวโน้มบริโภคอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมมากขึ้นเรื่อย ๆ
การวิเคราะห์ อุตสาหกรรมอาหารในเวียดนาม
จุดแข็ง ภาคอุตสาหกรรมอาหารนั้น มีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรม และGDP ตลาดเวียดนามเป็นตลาดที่มีศักยภาพทางด้านของสินค้าจำพวกอาหารนำเข้า ผู้บริโภคเวียดนามมีแนวโน้มหันไปซื้อของจากช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ ผู้บริโภคชาวเวียดนามโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นและผู้มีรายได้สูง เช่น กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ ที่นิยมสินค้ามีแบรนด์เนมส่วนใหญ่เป็นเขตในเมือง มีอัตราการเติบโตของตลาดค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ต่อปี สัดส่วนเพียงร้อยละ15 ของยอดขายภาคอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมด วัตถุดิบในประเทศมีความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายประเภท ดังนั้น ราคาวัตถุดิบจึงมีเสถียรภาพซึ่งเป็น จุดเด่น ในขณะที่ราคาวัตถุดิบโลกกำลังผันผวนอยู่ในปัจจุบัน
จุดอ่อน รายได้มีความแตกต่างกันระหว่างเขตเมืองและชนบท ดังนั้นกำลังการบริโภคก็แตกต่างไปด้วย อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารส่วนใหญ่มีลักษณะแยกส่วน ยกเว้น “นมและขนม” เพราะกำลังผู้บริโภคต้องพึ่งพากับรายได้ โครงสร้างพื้นฐานของเวียดนามยังคงอ่อนแอไม่ทันกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเชื่อมโยงกับโลกภายนอกมากนัก รวมไปถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในภาคการเกษตรเวียดนามเพื่อเพิ่มความแข่งขันกับโลกใน ระยะยาวยังคงช้ามาก เพราะบางครั้งขาดแคลนวัตถุดิบบางประเภททำให้เติบโตไม่เต็มศักยภาพ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายสนับสนุนอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีก็ตาม
โอกาส ด้านภาคการเกษตรของเวียดนามมีความต้องการเงินลงทุนอย่างมากโดยเฉพาะเงินทุนจากต่างประเทศ ตลาดมีขนาดใหญ่ อัตราเจริญเติบโตต้องสูง ค่าจ้างแรงงานต่ำ เหมาะสมกับการลงทุนตั้ง โรงงานแปรรูปอาหาร ส่วนการเป็นสมาชิกของ WTO ทำให้อุปสรรคทางการค้าลดลงเปิดโอกาสในการแข่งขันมากขึ้น จึงทำให้ระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้นและวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในเขตเมืองเพิ่มความต้องการสำหรับ ของทานเล่น อาหารสะดวกซื้อ และอาหารแบบหรูหรา ความเจริญเติบโตของภาคการท่องเที่ยวถือเป็นโอกาสที่จะพัฒนาให้ด้านภาคอาหารสะดวกซื้อ
อุปสรรค การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อาจส่งผลให้บริษัทขนาดเล็กต้องปิดตัวลง เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบด้านการเกษตรสูง ถือเป็นความเสี่ยงให้กับผู้ที่แปรรูปอาหาร เพราะต้นทุนในการผลิตสูง และอัตราคนว่างงานก็เพิ่มขึ้น จึงทำให้มีผลกระทบไม่ดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ผู้ประกอบการจึงต้องการรักษา กำลังการผลิตการกระจายสินค้า เพิ่มคุณภาพให้ผลิตภัณฑ์สร้างแบรนด์ผลิตอาหารสุขอนามัยและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคด้วย
อุตสาหกรรมเครื่องดื่มเวียดนาม
จุดแข็ง เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียในตอนนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยของ GDP อยู่ร้อยละ 5.9 ต่อปี ในช่วงระหว่างปี 2543 – 2556 ผู้บริโภคชาวเวียดนามโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่นและผู้มีรายได้สูงนิยมสินค้ามีแบรนด์ ความร่ำรวยของประชากรที่เป็นเมืองศูนย์กลางมีกำลังซื้อสูง เช่น กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ ส่วนของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้บริโภคกันอย่างแพร่หลาย และได้รับความนิยมอย่างมาก รวมทั้งความกดดันในการแข่งขันทำให้ภาคอุตสาหกรรมและเครื่องดื่มนั้นมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น
จุดอ่อน ภาคอุตสาหกรรมเครื่องดื่มส่วนใหญ่มีลักษณะแยกส่วน บริษัทต่างชาติหลายแห่งเข้ารวมในตลาดเบียร์ แต่บริษัทท้องถิ่นยังคงครองตลาด โครงสร้างพื้นฐานของเวียดนามยังคงอ่อนแอไม่ทันกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการ เชื่อมโยงกับโลกภายนอก รายได้มีความแตกต่างระหว่างเขตเมืองและชนบท เนื่องจากปัญหาโครงสร้างพื้นฐานยังอ่อนแอ การสร้างโรงงานผลิตเบียร์ที่ในภูมิภาคต่าง ๆ ถือว่าจะเพิ่มค่าใช้จ่าย แต่ยังคงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ดีที่สุด ดังนั้นกำลังของผู้บริโภคก็แตกต่างไปด้วย เพราะกำลังผู้บริโภคต้องพึ่งพากับรายได้
โอกาส มกราคม 2550 ตั้งแต่เวียดนามเป็นสมาชิกของ WTO อุปสรรคทางการค้าก็ลดลง ตลาดต้องมีขนาดใหญ่อัตราเจริญเติบโตต้องสูง ค่าจ้างแรงงานต่ำเหมาะสมกับการลงทุนตั้งโรงงาน ส่วนความเจริญเติบโตของภาคการท่องเที่ยวทำให้มีรายได้ที่สูงขึ้นจึงมีกำลังซื้อค่อนข้างสูงไปด้วย จึงเป็นโอกาสของเครื่องดื่มแบรนด์เนมที่จะทำให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ความสนใจต่อสุขภาพให้โอกาสสำหรับผู้ผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
อุปสรรค ปัจจุบันการแข่งขันทางการตลาดนับว่ารุนแรงขึ้น จากปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ต้นทุนวัตถุดิบสูง อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องตระหนักถึง คือ ราคายังคงเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจของผู้บริโภคเวียดนาม ทำให้อัตราคนว่างงานเพิ่มขึ้นมีผลกระทบไม่ดีต่อความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคอีกด้วย
เนื่องจากกฎระเบียบของเวียดนามเปลี่ยนแปลงบ่อย การจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าและขั้นตอนทำเอกสารที่ถูกต้องจะยุ่งยาก ผู้ส่งออกหรือนักลงทุนไทยควรเดินทางไปยังประเทศเวียดนามเพื่อดำเนินการสำรวจตลาดเอง แต่ต้องขายให้กับผู้จัดจำหน่ายเท่านั้น บริษัทยังต้องจำเป็นจดทะเบียนในเวียดนามและมีใบอนุญาตในการลงทุน การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรมการค้าปลีกช่วยอัตราบริโภคอาหารต่อหัวเพิ่มขึ้น จะขยายตัวมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันการใช้จ่ายในเขตชนบท และการพัฒนาของระบบการค้าปลีกสมัยใหม่ ดังนั้น การขายโดยตรงนิยมใช้กลยุทธ์ที่ได้ใช้มากที่สุดในการเจาะตลาดคือต้องทำธุรกิจผ่านคู่ค้าท้องถิ่น อาจจะเสียเวลานานหน่อย หนึ่งหรือสองปีจึงจะประสบความสำเร็จในตลาดนี้