เวียดนามถือว่ามีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แม้ว่าปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของเวียดนามคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของมูลค่าส่งออกของไทย แต่หากเวียดนามสามารถขยายการส่งออกได้อย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ย 20% ต่อปี ขณะการส่งออกของไทยขยายตัวอยู่ที่ 10% ต่อปี คาดว่าภายในเวลา 14 ปีข้างหน้า มูลค่าส่งออกของเวียดนามจะสามารถแซงหน้าประเทศไทยแน่นอน
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาด้านการส่งออกของไทยเกิดความผันผวนของค่าเงินบาท ค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น และข้อจำกัดด้านกฎระเบียบของประเทศคู่ค้าก็เยอะขึ้น ประเทศคู่แข่งขันได้เร่งพัฒนาการส่งออก เพื่อที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของภูมิภาค โดยเฉพาะเวียดนาม เห็นได้ชัดล่าสุดในปี 2557 มูลค่าส่งออกของเวียดนามเติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 20% (CAGR) ขณะที่มูลค่าส่งออกของไทยเติบโตเฉลี่ยเพียงปีละ 4% ส่วนต่างดังกล่าวเหลือเพียง 77,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 0.5 หรือราว 5 ปีที่ผ่านมาจากปี 2554ปัจจัยหลัก ๆ ของการส่งออกของเวียดนาม มีขับเคลื่อนด้วยผู้ประกอบการต่างชาติถึงกว่า 60% ของมูลค่าส่งออกรวม ทั้งนี้ ในส่วนของภาคการส่งออกของไทย แม้ว่าสหรัฐฯจะกลายเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งในปีนี้ แต่สัดส่วนของมูลค่าการส่งออกของไทยไปยัง สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 11.2 นั้นค่อนข้างใกล้เคียงกับมูลค่าการส่งออกไปที่จีนนั้นมีสัดส่วนร้อยละ 10.8 จึงทำให้ไทยนั้นได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจจีนที่กำลังซบเซาไปด้วย จากที่ทราบกันดีว่าเวียดนามเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจหลายด้าน มีทั้งความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานที่มากถึง 50 ล้านคน และเป็นแรงงานที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการทั่วโลกมาขยายการลงทุนที่เวียดนาม เห็นได้จากในช่วงปี 2552-2556 โดยจะมีการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรง (FDI) มีมูลค่าถึง 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนราว 20% ทั้งนี้ ในอนาคตข้างหน้า เวียดนามได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิก ตกลงเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership) ที่มีสหรัฐฯและญี่ปุ่น เป็นประเทศผู้บริโภคอันดับต้นๆของโลก เป็นแกนนำพร้อมทั้งมีการลงนาม ข้อตกลงการค้าเสรี(Free Trade Agreement: FTA) กับเกาหลีใต้ และสหภาพยุโรปไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญที่พวกเขามาลงทุนในเวียดนามเพื่อใช้เวียดนามเป็นพื้นที่การผลิตและส่งออก ทำให้มูลค่าการส่งออกของเวียดนามเติบโตอย่างก้าวกระโดดโดยสินค้าส่งออกอันดับ1 ของเวียดนามจะเป็นพวกโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยมีสัดส่วนของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 9 หรือเกือบครึ่งของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟน ชิ้นส่วนอุปกรณ์แทบเล็ดแบบสัมผัสหน้าจอ ยังเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดโลก และไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน และสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับต่ำมากนัก เวียดนามจึงกลายเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ของกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือสื่อสารแบบพกพา สินค้ารองลงมา เป็นสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม มีสัดส่วนอยู่ 16% ขณะที่สินค้าเกษตรหลัก ๆ คือ กาแฟ ข้าว ยางพารา และอาหารทะเล จัดเป็นคู่แข่งกับสินค้าส่งออกของไทย รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าเกษตร ในส่วนของไทยจะเป็นด้านเกษตรกรรม และสินค้าโภคภัณฑ์ จากที่เคยเป็นผู้นำสินค้าส่งออกหลัก ๆ และทำรายได้ให้กับประเทศไทย กลับลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ประเด็นที่น่าสนใจในตอนนี้ คือ เวียดนามอยู่ในระหว่างการเจรจาทำข้อตกลงการค้าเสรีที่สำคัญอยู่ 2 ฉบับ หากมีการเจรจาสำเร็จ ทำให้เวียดนามส่งออกไปสู่สหรัฐ EU และญี่ปุ่น ประเด็นอยู่ที่การเสียภาษีนำเข้าแค่ 0% เท่านั้น
อีกไม่กี่ปีข้างหน้า เวียดนามอาจก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกแถวหน้าของเอเชีย รวมถึงจะเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในแรงกดดันประเทศไทย ได้เริ่มหันมาปรับยุทธศาสตร์การส่งออกใหม่โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างของภาคส่งออก หันมาให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่เพิ่มมูลค่าสูงแทน หรืออาจปรับเปลี่ยนสถานะไปสู่บริษัทการค้าที่ภาครัฐกำลังขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้ และจะขยายฐานผลิตไปยังประเทศที่มีจุดแข็งเพื่อใช้เป็นฐานในการส่งออกต่อไป