จับประเด็นเล่นหุ้นทำเงินให้งอกเงย “โคแมนชี่ หุ้นที่ตอบรับกับ Thailand 4.0”

คณิต นิมมาลัยรัตน์

หนึ่งในแนวคิดการมองหาหุ้นทำเงินก็คือ การซื้อหุ้นที่อยู่ในเทรนด์ หรืออยู่ในกระแสขาขึ้น หุ้นที่อยู่ในเทรนด์ขาขึ้น แม้กิจการอาจไม่เข้มแข็งนักแต่ด้วยภาวะอุตสาหกรรมที่เติบโต ก็จะทำให้หุ้นเติบโตไปได้ด้วย หุ้นที่เราจะมาจับประเด็นกันในครั้งนี้คือ หุ้น COMAN

หนึ่งในแนวคิดการมองหาหุ้นทำเงินก็คือ การซื้อหุ้นที่อยู่ในเทรนด์ หรืออยู่ในกระแสขาขึ้น หุ้นที่อยู่ในเทรนด์ขาขึ้น แม้กิจการอาจไม่เข้มแข็งนักแต่ด้วยภาวะอุตสาหกรรมที่เติบโต ก็จะทำให้หุ้นเติบโตไปได้ด้วย หุ้นที่เราจะมาจับประเด็นกันในครั้งนี้คือ หุ้น COMAN หรือ บริษัท โคแมนชี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ติดตามกันเลยครับ

บริษัท โคแมนชี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

ประเภทธุรกิจ :  เป็นผู้พัฒนาเพื่อจำหน่าย ติดตั้ง และให้บริการโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้บริหารงานโรงแรม (Business Solutions Software for Hotel) และลงทุนในบริษัทอื่น

โดยรายละเอียดของการประกอบกิจการ : บริษัทฯ ประกอบธุรกิจหลักเป็นผู้พัฒนาเพื่อจำหน่ายและติดตั้งโปรแกรมสำเร็จรูปที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ โดยจดทะเบียนลิขสิทธิ์โปรแกรม Comanche Hotel Software และ Data Base กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา บริษัทฯ ให้บริการติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวในสถานที่ประกอบการของลูกค้า จัดหลักสูตรฝึกอบรมผู้ใช้โปรแกรม และให้บริการหลังการขายโดยการให้คำปรึกษา การบริการซ่อมบำรุงต่างๆ และการบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบัน บริษัทฯ มุ่งเน้นพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีนโยบายลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจในลักษณะใกล้เคียงกันหรือธุรกิจที่สนับสนุนธุรกิจหลักของบริษัทฯ เพื่อขยายงานทางด้านการให้บริการซอฟต์แวร์ โดยปัจจุบัน บริษัทฯ มีการลงทุนในบริษัทอื่น 1 แห่ง ซึ่งมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว ได้แก่ บริษัท เอ็มเอสแอล ซอฟต์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจให้คำปรึกษา วางแผน พัฒนา และติดตั้งโปรแกรมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของโซลูชั่น ตามความต้องการใช้งานของลูกค้า ตลอดจนรับให้บริการบำรุงรักษารายปีหรือตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ในหลากหลายสาขา เช่น สาขาการเงินและการธนาคาร และสายการบิน เป็นต้น

สถานะทางการเงิน

สถานะทางการเงินของ COMAN สินทรัพย์รวมปีล่าสุดอยู่ราว 198 ล้านบาท มีหนี้สินอยู่ราว 47 ล้านบาท ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้น (สินทรัพย์ – หนี้สิน) อยู่ราว 150 ล้านบาท ถือว่าเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สิน หนี้สินน้อยมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง

หนี้สินต่อทุนของ COMAN อยู่ในระดับต่ำ คืออยู่เพียง 0.32 เท่า ทำให้มี room ในการกู้เงินมาลงทุนอีกมากพอดู อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) สูงถึง 16.92% หมายความว่าผลตอบแทนที่ได้รับกลับมาจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ในเกณฑ์สูง อาจเป็นเพราะบริษัท Soft ware ไม่ได้ใช้สินทรัพย์จริงๆ ในการทำมาหากิน สินทรัพย์ส่วนใหญ่คือ “มันสมอง” ของทีมพัฒนาโปรแกรม

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) สูงถึงร้อยละ 23.96 ถือว่าสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีหนี้สินน้อย หมายความว่าผลตอบแทนตรงสู่ผู้ถือหุ้นเลย ถ้ารักษาระดับนี้เอาไว้ได้ถือว่าน่าสนใจมากทีเดียวครับ

* อย่างไรก็ตามการคำนวณอัตราส่วนทางการเงินสำหรับงวดหกเดือนแรกของปี 2559 ใช้ตัวเลขปรับให้เป็นจำนวนเต็มปี (Annualized) เพื่อประโยชน์ของการเปรียบเทียบ

วิเคราะห์การดำเนินการ และแนวทางการทำธุรกิจ

COMAN มีรายได้หลักจากการขายและให้บริการติดตั้งโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งเป็นการให้บริการลูกค้าในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมซึ่งเป็นลูกค้าหลัก เช่น โรงแรมในเครือเซ็นทารา และลูกค้าอื่น รวมถึงรายได้จากงานบริการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงตามสัญญา

อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ได้รวมรายได้ของ MSL เข้ามาในงบการเงินรวม ตั้งแต่ 1 กันยายน 2558 เป็นต้นมา รวมถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้ของบริษัทฯ จากงานขายและให้บริการติดตั้งโปรแกรมสำเร็จรูปและการบริการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงตามสัญญา ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายฐานลูกค้ากลุ่มโรงแรม และการใช้บริการดูแลรักษาหลังการขายตามสัญญา

ซึ่งบริษัท MSL หรือ บริษัท เอ็มเอสแอล ซอฟต์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ดำเนินธุรกิจให้คำปรึกษา วางแผน พัฒนา และติดตั้งโปรแกรมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของโซลูชั่น ตามความต้องการใช้งานของลูกค้า ตลอดจนรับให้บริการบำรุงรักษารายปีหรือตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ในหลากหลายสาขา เช่น สาขาการเงินและการธนาคาร และสายการบิน

ข้อสรุปของหุ้น COMAN

สำหรับหุ้น COMAN โดยเนื้อแท้ของกิจการคือหุ้นที่ผลิตโปรแกรมสำหรับใช้ในการบริหารโรงแรม ดังนั้นโรงแรมทั้งหลายในประเทศไทยก็สามารถเป็นลูกค้าของเขาได้ โดยโรงแรมส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะมีเจ้าของกิจการเป็นคนท้องถิ่นตามแหล่งท่องเที่ยว และยังมีอีกมากที่ไม่มีโปรแกรมบริหารจัดการรองรับการบริการลูกค้า ทำให้กลุ่มลูกค้าในโซนนี้ยังขยายได้อีกราว 15-20% และตัวโปรแกรมก็เป็นตัวเดิม ต้นทุนขายจึงคงที่ ในขณะที่ยอดขายน่าจะเพิ่มขึ้น

อีกส่วนที่น่าสนใจก็คือบริษัท MSL ที่ทำ BIG DATA คือการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ว่าเขาใช้อะไร ชอบทานอะไร ชอบเที่ยวที่ไหน ถือว่าน่าจับตามอง เพราะถ้าทำสำเร็จก็จะขยายขอบเขตของงาน ได้ลูกค้าในโซนอื่นๆ อีกมาก เช่น ธุรกิจการบิน การท่องเที่ยวที่ไม่จำกัดเฉพาะโรงแรม รวมถึงการทำตลาดออนไลน์ หรือ Digital Marketing ซึ่งคงต้องติดตามต่อไปอย่างใกล้ชิดครับ

(นายแว่นธรรมดา)

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ