เมื่อตอนที่แล้วเราคุยกันไปในเรื่องของวิธีการวิเคราะห์ไอเดียต่าง ๆ ที่เราคิดได้ ซึ่งสามารถเอามาทำ Startup ได้ซึ่ง ปกติแล้วผมจะแบ่งวิธีทดสอบไอเดียเป็นสามส่วน ซึ่งวันนี้จะว่าในส่วนที่สองต่อเลยน่ะครับ
- ส่วนแรก คือการถามจากตัวเอง ซึ่ง อ้างอิงจากประสบการณ์และความรู้ส่วนตัว ส่วนนี้ต้องหาอ่านจากตอนที่แล้วน่ะครับ
- ส่วนที่สอง คือการใช้ Tool ทางการตลาดและเศรษฐศาสตร์ เข้ามาดูความเป็นไปได้เช่น BCG Tool, Porter Tool และ Kotler Tool เป็นต้น
- ส่วนที่สาม คือส่วนที่ไม่เคยทำให้ผมผิดหวังเลยคือ การออกไปหาความจริงในตลาดเชิงการวิจัยแบบคุณภาพและปริมาณ แต่ใน Startup เราจะใช้วิธี LEAN Validation กันเพื่อ Validate ดูว่าถ้าธุรกิจจากไอเดียของคุณมันขึ้นจริงแล้วจะมีใครมาใช้บริการมันไหม เมื่อมีการเปิดบริการขึ้นมาจริง ๆ ส่วนนี้เรียกว่าเป็นด่านสุดท้ายก่อนจะทำธุรกิจใด ๆ เลยน่ะครับ
มาถึงส่วนที่สองกันครับ คือการใช้ Porter 5 Forces นั้นเอง
- Internal Rivalry หรือคู่แข่งเดิมที่มีอยู่ในตลาดว่ามีใครบ้าง ถ้ามีจำนวนคู่แข่งมากทำให้การแข่งขันสูงเราจะถือว่าแนวโน้มเป็นลบ แต่ถ้าคู่แข่งมียังไม่มาก เราจะถือว่าเป็นแนวโน้มเป็นบวก
- Bargaining of customer คือลูกค้ามีอำนาจต่อรองกับเรามากน้อยเพียงใด ถ้าลูกค้ามีอำนาจต่อรองมากเช่น ถ้าเราทำ App ขายแว่นตาให้กับลูกค้า เราก็ต้องทราบก่อนว่าในตลาดนั้นมีร้านขายแว่นตาอีกตั้งมาก และที่สำคัญคือบางทีอาจจะขายยี่ห้อเดียวกับเราด้วยซ้ำ ในราคาที่อาจจะถูกว่า เพราะฉะนั้นลูกค้าเองก็จะมีอัตราต่อรองที่มากกว่าเมื่อเทียบกับเรา ถ้าเราอยากจะมี Bargaining power มากกว่าเราก็คงต้องทำอะไรซักอย่างเช่น เสนอของที่ดีกว่า ส่งเร็วกว่า ราคาถูกกว่า เป็นต้นเพื่อปรับให้เราอยู่ในจุดที่ดีกว่าของการแข่งขันในตลาด
- Threat of new comer คือระดับความยากง่ายของผู้ที่จะแทรกตลาดเข้ามาหลังจากเราเข้ามาทำตลาดแล้ว เช่นถ้าผมทำ Application ดูหวย เหมือนอย่างที่ประกาศกันดาดดื่นในเว็บไซต์ ผมก็เชื่อว่ามีคนทำตามได้เยอะแยะไม่ได้ยากเย็นอะไร แต่ถ้าผมบอกว่าผมอยากทำ Big Data Analytic ที่สามารถดูพฤติกรรมการเดินทางของผู้ใช้รถไฟฟ้าแล้วสามารถพยากรณ์สินค้าและบริการที่บุคคลผู้นั้นมีความเป็นไปได้ว่าจะซื้อ จากนั้นส่งคูปองเข้าไปที่สมาร์ทโฟนเพื่อกระตุ้นการซื้อ อันนี้ผมมีข้อมูลทันทีว่าคนในเมืองไทยทำได้กี่คน และใครที่มีแนวโน้มที่จะทำแข่งกับผม ผมจะสามารถรู้ได้ถึงว่าผมต้องวาง positioning การวิเคราะห์ผลลัพธ์ออกมาทางไหนถึงจะสามารถรักษาพื้นที่ทางการตลาดผมได้ ถ้าสุดท้ายผมรู้ว่าผมได้เปรียบแน่นอนว่าแนวโน้มบวกอย่างยิ่ง
- Bargaining of supplier คืออำนาจการต่อรองกับ Supplier เช่นถ้าคุณซื้อสินค้ามาขายต่อ เช่น ซื้อ Microsoft Office มาจาก Microsoft เพื่อมาขายต่อ ผมเชื่อว่าคุณคงจะไปต่อรองอะไรกับเค้าลำบาก ซึ่งถ้าอยากจะเป็นตัวแทนจำหน่ายให้เค้าๆบอกให้ขึ้นราคาคุณก็คงต้องขึ้นตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนวโน้มอาจจะลบที่อำนาจการต่อรอง แต่คงจะไปบวกที่ยี่ห้อติดตลาดแล้ว แต่ถ้าคุณทำอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องใช้วัสดุสิ่งปลูกสร้าง บริษัทเหล่านั้นต้องส่งพนักงานขายมานั่งรอ อำนาจการต่อรองแนวโน้มบวกมาก
- Threat of Substitution คืออุปสรรคของสินค้าที่ทดแทนได้ ในที่นี้เราจะพูดถึง สินค้าของเราน่ะครับ ว่ามันจะโดนทดแทนได้หรือไม่ ซึ่งบ่อยครั้งการโดนทดแทนมักจะโดนทดแทนโดย Solution ง่าย ๆ เช่น ถ้าวันนี้ผมอยากทำเว็บ E-commerce ซักอันนึง คุณคิดว่าจะมีอีกกี่เว็บที่จะเป็นเว็บมาทดแทนของผม บอกเลยครับว่าเพียบ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องคิดกลยุทธ์หรือคุณลักษณะเฉพาะตัวเพื่อมาเสริมทำให้เราดูจะโดนทดแทนได้ง่ายๆ เช่น อาจจะเป็น E-Commerce เฉพาะด้านไปเลยเป็นต้น
จาก 5 Forces ที่ได้เล่ามานั้นทำให้เราสามารถวิเคราะห์จากการนับแนวโน้ม ถ้าแนวโน้มมาทางบวก 3 Forces หรือมากกว่าตลาดนั้นเหมาะมากในการคิดแผนธุรกิจต่อไป แต่ถ้าได้เพียงแค่ 2 หรือน้อยกว่านั้นให้ศึกษาให้ดีว่าเราสามารถลดความเสี่ยงอีก 1 Force ได้ไหม ถ้าลดไม่ได้แต่ยังอยากทำต่ออาจจะเหนื่อยมากที่จะเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดได้ อย่างไรก็ดี 5 Forces Analysis ยังต้องใช้ควบคู่กับ SWOT คือ Strength จุดแข็งของธุรกิจ Weakness จุดอ่อนของธุรกิจ Opportunity โอกาสมีมากเพียงใด และ Threat คืออุปสรรคนั้นมีมากเพียงใดเพื่อดูตลาดเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งไม่มีกฏตายตัวคุณผู้อ่านต้องใช้วิจารณญาณควบคู่กับการดูจังหวะของตลาดนั้นๆ และ ตำแหน่งของตลาดควบคู่ไปด้วย เช่นถ้าคุณอยากทำเกมส์ การวิเคราะห์อาจจะดูแย่หมดเพราะใคร ๆ ก็ทำเกมส์กันแต่เชื่อผมเถอะว่ามีอยู่เกมส์หนึ่งที่ทำให้นักวิเคราะห์นั่งงงกับความสนุกปนรำคาญเมื่อได้สัมผัสกับเกมส์เช่น Flappy Bird ของคุณ ดงเหงียน ซึ่งการที่เกมส์ลักษณะนี้เข้ามาชิงตลาดได้นั้นแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ธุรกิจจะอยู่ในรูปแบบใด การวิเคราะห์ต่าง ๆ ผลจะออกมาแย่แค่ไหน ความแน่วแน่ความรัก ความทุ่มเท และการอุทิศตนเท่านั้นที่จะทำให้คุณค้นพบกับโอกาสทางธุรกิจได้และประสบความสำเร็จในที่สุด ขอเพียงแต่ต้องกล้า และลงมือทำอย่างจริงจังครับ
ผมขอฝากส่งท้ายนิดนึงว่า ถ้า Startup คนไหนได้อ่านคอลัมน์ผมแล้วรู้สึกว่า เราเองก็มี Startup ที่น่าสนใจ อยากให้ผมไปสัมภาษณ์เพื่อแชร์ความรู้ให้กับเพื่อน ๆ Startup ผ่านทางคอลัมน์ผมก็กระซิบมาทางเพจ Thai Startup Café ของผมได้น่ะครับ ผมยินดีเป็นสื่อกลางให้ทันที