46 ข้อสำคัญก้าวให้ทันนวัตกรรม : ดร.พยัต วุฒิรงค์

ดร.พยัต วุฒิรงค์

องค์กรที่คิดและอยากจะทำนวัตกรรม ต้องถามตัวเองก่อนว่าพร้อมแล้วหรือยังในการเปลี่ยนแปลง หากพร้อมแล้วให้เริ่มคิดและลงมือทำให้เร็วที่สุด ล้มให้เร็ว ทำให้เร็ว เปลี่ยนแปลงให้เร็ว ห้ามกลัว

ครั้งหนึ่งผมไปร่วมงาน ซึ่งมีการเสวนาหัวข้อ “การปฏิรูปสังคมไทยสู่สังคมนวัตกรรม” โดยพี่กานต์ อดีต CEO SCG คุณศุภชัย CEO TRUE คุณเทวินทร์ นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ และคุณสุทธิชัย หยุ่น ที่ปรึกษาเครือเนชั่นกรุ๊ป คุณลลิต ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และ ศ.ดร.บัณฑิต อธิการบดีจุฬาฯ ทุกท่านกำลังพูดถึงความสำคัญของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องทำเมื่อคิดจะทำนวัตกรรม และอีกหลากหลายเรื่องราวสำคัญในการก้าวตามให้ทันนวัตกรรม ผมสรุปเป็น ได้ดังนี้

ครั้งหนึ่งผมไปร่วมงาน ซึ่งมีการเสวนาหัวข้อ “การปฏิรูปสังคมไทยสู่สังคมนวัตกรรม” โดยพี่กานต์ อดีต CEO SCG คุณศุภชัย CEO TRUE คุณเทวินทร์ นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ และคุณสุทธิชัย หยุ่น ที่ปรึกษาเครือเนชั่นกรุ๊ป คุณลลิต ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และ ศ.ดร.บัณฑิต อธิการบดีจุฬาฯ ทุกท่านกำลังพูดถึงความสำคัญของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องทำเมื่อคิดจะทำนวัตกรรม และอีกหลากหลายเรื่องราวสำคัญในการก้าวตามให้ทันนวัตกรรม ผมสรุปเป็น ได้ดังนี้
1.สิ่งประดิษฐ์ หรือ Invention ไม่เพียงพอ องค์กรต้องสร้างนวัตกรรมหรือ Innovation คือต้องขายได้เท่านั้นจึงจะอยู่รอด
2. ถ้าเราไม่เปิดหู เปิดตา เปิดใจ เราจะไม่มีทางเปลี่ยนอะไรได้เลย
3.การเริ่มต้นนวัตกรรมต้องรีบเปลี่ยนความคิดเป็นต้นแบบให้เร็วที่สุด เมื่อมีต้นแบบแล้วจึงนำไปขยายผลในอุตสาหกรรมและลูกค้าต่อไป
4. การทำนวัตกรรมให้สำเร็จ องค์กรต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำนวัตกรรมให้ได้คือ ทำให้คนกล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ กล้าเสี่ยง
5. เราต้องยอมรับความล้มเหลวถึงจะสร้างนวัตกรรมได้ ยิ่งล้มเร็วยิ่งเกิดนวัตกรรมเร็ว
6. นวัตกรรมที่คิดต้องมีการเลือกหรือ Screening เพื่อป้องกันความเสียหายที่มากเกินความจำเป็น
7. ความคิดสร้างสรรค์กับความเพ้อฝันแตกต่างกัน
8. นวัตกรรมเริ่มจากการเปลี่ยน “ท่าน” เป็น “พี่”
9. ผลลัพธ์หรือ Result ที่ดีคือตัววัดความสำเร็จของนวัตกรรม
10. การนำไปใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมทั่วโลกมีแค่ 5% เท่านั้น
11. การสร้างนวัตกรรมจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือกัน ร่วมมือกันระหว่างองค์กรในภาคอุตสาหกรรม ร่วมมือกันระหว่างภาคมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม ร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม
12. นวัตกรรมไม่จำเป็นต้องมาจากนักวิจัย บัญชีการเงินก็สามารถทำนวัตกรรมได้ ทุกคนทำนวัตกรรมได้ แต่ต้องไม่หลุดกรอบมาก
13. นวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเริ่มจากวิจัย อาจเริ่มจากลูกค้าหรือตลาด วิจัยเป็นแค่ส่วนเล็กๆ เท่านั้น
14. คนทำนวัตกรรมต้องยอมรับความล้มเหลว สังคมไทยไม่ค่อยยอมรับความล้มเหลวเลยทำนวัตกรรมไม่ค่อยได้
15. ทำนวัตกรรมต้องไม่มองตลาดเฉพาะเมืองไทยเพราะเล็กมาก ต้องมองว่านวัตกรรมสามารถนำไปใช้ทั่วโลกได้หรือไม่
16. ความรักและความฝัน หรือ passion + engagement จะทำให้เกิดนวัตกรรมที่ยั่งยืน
17. เป้าหมายของนวัตกรรมคือการสร้างสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
18. บางครั้งเด็กคิดสร้างสรรค์ได้ดีกว่าผู้ใหญ่
19. “เด็ก” ถ้าเค้าสนใจอะไรเค้าจะพยายามไปหาหนังสือมากมายเพื่อหาคำตอบ
20. ทำนวัตกรรมต้องมีความรักและศรัทธา
21. องค์กรต้องคิดอะไรใหม่ๆ เพื่อตอบคำถามของลูกค้าตลอดเวลา
22. สิ่งที่ไม่มีใครทำกัน แต่ช่วยชาวบ้านได้มากก็เรียกว่า “นวัตกรรม”
23. นวัตกรรมของคนไทยพูดไม่มีใครเชื่อต้องให้ต่างชาติพูดให้ฟังถึงจะยอมรับกัน
24. นวัตกรรม = วิธีคิดในกรอบเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของคนที่จะใช้
25. สังคมไทยไม่ค่อยให้โอกาสในการทำผิดทำให้นวัตกรรมเกิดยากและน้อย
26. ไอน์สไตน์บอกมาเป็นร้อยปีแล้ว ถ้าเราทำอะไรเหมือนเดิมแล้วคาดหวังผลลัพธ์ที่แตกต่างมันบ้าไปแล้ว
27. เวลาประชุม ทุกคนเกรงใจประธาน ทำให้ไม่เกิดการโต้แย้งและนวัตกรรม
28. วัฒนธรรมไทยมีปัญหา พี่ๆ น้องๆ จะเกรงใจกัน กลัวน้องผิดหวัง เสียใจ ทำให้ไม่เกิดการพัฒนานวัตกรรม
29. ทุกวงการของไทยล้าหลังต่างประเทศ เราไม่มีทางทำทีละเล็กละน้อยแล้วจะตามเค้าทัน ต้องทำแบบก้าวกระโดด
30. การหาช่องว่างในการทำนวัตกรรม องค์กรต้องวัดทุกช่องทาง ทุกสื่อ ทุกกลุ่มลูกค้าเพื่อหาสิ่งที่ดีขึ้น
31. ทุกคนต้องการการเปลี่ยนแปลง แต่ยังอยู่ในพื้นที่ที่คุ้นเคยหรือ comfort zone สุดท้ายคิดแต่ไม่เปลี่ยน
32. การทำนวัตกรรม ต้องทำให้เกิด Disruption แปลว่า “ป่วน” ทำให้ทุกอย่างมันปั่นป่วน ก่อนที่ข้างนอกจะกดดันเราให้เปลี่ยน เราต้องป่วนตัวเองก่อน
33. การทำนวัตกรรมให้อยู่รอด ต้องให้พนักงานเขียนรายละเอียดงานที่ต้องทำหรือ JD ใหม่หมดเพราะ ลูกค้าไม่ต้องการสิ่งที่เราทำในอดีตแล้ว
34. นวัตกรรมอาจเป็นแค่ fashion ในไทย สังคมไทย serious กับมันแค่ไหน
35. นักบริหารส่วนใหญ่ จะท้อเมื่อทำอะไรผิดบ่อยๆ ไม่เหมาะกับการทำนวัตกรรม
36. Innovate or die การเปลี่ยนไม่รู้ว่าจะอยู่รอดหรือเปล่า การเปลี่ยนแล้วต้องตอบโจทย์ด้วย แล้วทดลองๆๆ ถึงจะอยู่รอดได้
37. การวางงบประมาณในการทำนวัตกรรม เราไม่ควรเกลี่ยให้ทุกคนมีความสุขแต่ควรทุ่มให้กับอะไรที่สำคัญ
38. การทำนวัตกรรมต้องตั้งเป้า เราจะชนะสิงคโปร์ให้ได้ เขามีคนน้อย ที่ดินน้อย ทรัพยากรน้อยทำไมเราจะสู้ไม่ได้
39. การทำนวัตกรรมเราต้องรู้ว่าใครคือคู่แข่งเรา ตั้งเป้า วัดกันทุกปี
40. การแข่งขันกับต่างชาติ ตัวต่อตัวเราไม่แพ้ ทำไมพอรวมกันเราแพ้
41. คำพูดว่าไม่มีใครทำกัน มันยาก มันทำได้เหรอ ใครทำมาก่อนหรือเปล่า เค้าเจ๊งมาแล้วนะ งบแค่นี้ไม่พอหรอก คนน้อย ให้เลิกพูดได้แล้ว
42. เราต้องกล้าตั้งคำถาม ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ คิดแบบ startup คือคิดให้โต
43. แค่ตั้งคำถามก้อมี passion ในการทำนวัตกรรมแล้ว
44. องค์กรใหญ่ต่อไปจะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่ทำนวัตกรรม
45. เทคโนโลยีมาเร็วมาก ฟูจิ โกดังเจ๊ง เมื่อมี digital หรือ Encyclopedia เจ๊งเลย เมื่อมี Wikipedia
46. Now everyone can fly – budget airline ลงมาสู่คนที่ไม่มีโอกาสได้ นั่นแหละคือนวัตกรรม และนวัตกรรมนั้นจะขายได้

จาก 46 ข้อสำคัญก้าวให้ทันนวัตกรรม ผมสรุปการสร้างสังคมนวัตกรรมได้เป็น 4 ประเด็นใหญ่ๆ

1. นวัตกรรมต้องเริ่มจากคิด-ทำ-และต้องขายได้ อันหลังนี้สำคัญ ขายได้อาจไม่ใช่การทำกำไร แต่ทำให้ผู้ใช้อยากใช้และแก้ปัญหาได้
2. คิดสร้างสรรค์คือ การคิดเพื่อให้เกิดประโยชน์ในภาพรวม แต่คิดเพ้อฝัน คือคิดไปเรื่อยๆ และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับใครเลยแม้แต่ตัวเราเอง
3. ถ้าจะทำสังคมนวัตกรรม ต้องเปลี่ยนที่แนวคิดของคนก่อน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแนวคิดองค์กร และแนวคิดของสังคมต่อไป เพื่อทำให้การใช้ชีวิตของคนดีขึ้น
4. สุดท้ายแล้วนวัตกรรมเป็นเรื่องของ “คน” กระบวนการนวัตกรรมหรือ R&D เป็นแค่จุดเล็กๆ จุดหนึ่งเท่านั้น ต้องทำให้ “คน” เปิดหู เปิดตา เปิดใจ กล้าลงมือทำ กล้าทดลอง นั่นคือต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดนวัตกรรม

องค์กรที่คิดและอยากจะทำนวัตกรรม ต้องถามตัวเองก่อนว่าพร้อมแล้วหรือยังในการเปลี่ยนแปลง หากพร้อมแล้วให้เริ่มคิดและลงมือทำให้เร็วที่สุด ล้มให้เร็ว ทำให้เร็ว เปลี่ยนแปลงให้เร็ว ห้ามกลัว

ความกลัวเป็นบ่อเกิดของความล้มเหลว ยิ่งกลัวยิ่งไม่ทำ ยิ่งไม่ทำยิ่งตาย จงเปลี่ยนแปลงก่อนที่สภาพแวดล้อมให้เราต้องเปลี่ยน…สวัสดี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ