อนาคตรถไฟไทย : ดร. ฐาปนา บุญหล้า (ตอนที่ 1)

อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ

ทำเลที่ตั้งภูมิศาสตร์ของไทย นับว่าเป็นศูนย์กลางคมนาคมทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ เป็นประตูการค้า(GATEWAY) ของภูมิภาคเอเชีย และของโลก เราจึงมีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากระบบโลจิสติกส์ทั้งทางน้ำ ทางบก ระบบราง ตลอดจนการสื่อสารทางพื้นดินและทางอากาศ

ทำเลที่ตั้งภูมิศาสตร์ของไทย นับว่าเป็นศูนย์กลางคมนาคมทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ เป็นประตูการค้า(GATEWAY) ของภูมิภาคเอเชีย และของโลก เราจึงมีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากระบบโลจิสติกส์ทั้งทางน้ำ ทางบก ระบบราง ตลอดจนการสื่อสารทางพื้นดินและทางอากาศ เป็นฐานความมั่นคงและมั่งคั่งของเศรษฐกิจประเทศที่บรรพบุรุษของเรามอบให้โดยเลือกที่จะตั้งหลักปักฐานในทำเลทองนี้

 

ในยุคสงครามเย็นเป็นช่วงเวลาซึ่งอำนาจระหว่างอเมริกากับรัสเซีย อเมริกาเลือกไทยเป็นศูนย์กลางต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทุ่มเทให้ไทยสร้างสนามบินและถนนจำนวนมากมาย เพื่อเป็นเส้นทางขนอาวุธไปสู้กับประเทศเพื่อนบ้านของเรา ตรอบงำให้เราตกเป็นทาสเศรษฐกิจผ่านกระแสบริโภคนิยมแบบอเมริกัน สร้างความร่ำรวยให้ชนชั้นนำ ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายนายทุน ซึ่งยังคงมีอิทธิพลสืบสานมาจนทุกวันนี้ เป็นแผนทำลายวัฒนธรรมและล่อหลอกผู้นำของเราให้พัฒนาความเจริญแบบผิดทิศเป็น Negative Selection มุ่งมั่นที่จะลงทุนในการสร้างถนนให้รถวิ่ง ละเลยการพัฒนาระบบราง ซึ่งเป็นการขนส่งที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด เสียโอกาสการสร้างความมั่งคั่งของประเทศไปจำนวนมหาศาล

 

ในรัชสมัยล้นเกล้าฯ ร.5 ประเทศนักล่าอาณานิคมของไทยจับจ้องที่จะยึดประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางในการขยายอิทธิพล บังคับเราให้ลดขนาดรางรถไฟจากขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร ให้เหลือ 1 เมตร แต่ในยุคปัจจุบันไม่น่าเชื่อว่าเราจะดิสเครดิตประเทศของเราดัวยตัวเอง โดยการดำรงไว้ซึ่งรางรถไฟขนาด 1 เมตร ในขณะที่ทุกๆประเทศกำลังขยายรางรถไฟสู่ความเป็นสากล การวางแผนสร้างระบบรางครั้งล่าสุดยังมีความคิดล้าหลังถึงขนาดจะลงทุนพัฒนาเส้นทางรถไฟรางแคบนี้ไปรอบประเทศมีความยาวถึง 4,430 กม. ด้วยงบประมาณถึง 176,507 ล้านบาท โดยใช้วจีประดิษฐ์ว่าเป็นการพัฒนาให้เป็น “รางคู่” อำพรางให้ผู้คนที่ไม่มีความเข้าใจในวิธีการว่า รฟท. ได้ทำการพัฒนาระบบรางให้ทันสมัย ทั้งๆที่ความจริงแล้วเป็นการหมกเม็ดเก็บรักษารางโบราณที่ชาวโลกเขาเลิกใช้แล้ว เป็นการสร้างความหายนะให้ประเทษปิดกั้นการพัฒนาไปอีกอย่างน้อย 50 ปี ทำให้ไทยไม่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งล้วนใช้รางขนาดมาตรฐานกันแล้ว ไม่มีใครสงสัยบ้างเลยหรือว่าทำไมไทยจึงวางอนาคตประเทศไว้บนรางรถไฟขนาด 1 เมตร ทั้งๆที่รู้ว่าชาวโลกเขาเลิกใช้กันแล้ว ทั้งควรตระหนักดีว่าการทุ่มงบประมาณจำนวนดังกล่าวเพื่อ Re-habilitation รางรถไฟของรฟท.นั้นเป็นการสูญเปล่า เพราะจะต้องรื้อทิ้งภายในไม่ช้า แล้วต้องหางบประมาณมาสร้างรางขนาดมาตรฐานใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเราได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีร่วมในเครือข่าย Trans – Asian Railway Network ซึ่งจีนจะสร้างทางรถไฟรวม 10 เส้นทาง ด้วยรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร จากจีนผ่านพม่า ไทย มาเลเซีย กับสิงคโปร์

 

คนไทยทุกคนที่ไม่อยากเห็นการผลาญงบประมาณชาติ ในการพัฒนาระบบรางตามแผนของ รฟท. จะต้องช่วยกันระงับโครงการที่อนุรักษ์รางรถไฟขนาด 1 เมตร หรือจะแอบเรียกว่า “รางคู่” ก็ตามแต่ เพื่อป้องกันการเสียงบประมาณซ้ำซ้อน ปิดกั้นโอกาสสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศซึ่งเป็นการสร้างความสูญเสียมหาศาลของชาติ

 

ด้วยอิทธิพลของมายาคติ คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่ารถไฟรางคู่จะสามารถพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ลดต้นทุนการขนส่ง และเชื่อมต่อการคมนาคมกับโลกสากลได้ ทั้งๆที่ความเป็นจริงแล้วรางแคบนั้นสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ไม่เกิน 75 กม./ชม. การทำรางแคบให้เป็นรางคู่ไม่สามารถพัฒนาการขนส่งให้รวดเร็วได้ หนำซ้ำยังเบี่ยงเบนความจริงที่ให้คนหลงผิดว่ารถไฟฟ้าความเร็วสูงใช้รางขนาด 1.435 เมตร รถไฟฟ้าทางไกลและรถสินค้าบรรทุกหนักใช้รางขนาด 1 เมตร ทำให้ต้องรางคู่ สำหรับรถไฟฟ้าความเร็วสูงแยกออกมาต่างหาก ทั้งที่ความจริงแล้วทั่วโลกใช้รางขนาด 1.435 เมตรร่วมกันได้

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ