SMEs มีตัวช่วยทางการเงิน : รัญชนา รัชตะนาวิน

Nanyarath Niyompong

โค้งสุดท้ายจากการช่วยเหลือทางภาครัฐ อนุมัติโครงการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และเพียงพอต่อการลงทุน โดยมีมาตราการสำคัญหลัก คือ (1) มาตรการด้านการเงิน และ (2) มาตรการด้านภาษี

โค้งสุดท้ายจากการช่วยเหลือทางภาครัฐ อนุมัติโครงการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และเพียงพอต่อการลงทุน โดยมีมาตราการสำคัญหลัก คือ (1) มาตรการด้านการเงิน และ (2) มาตรการด้านภาษี

 

มาตรการด้านการเงิน

 

1.  SMEs สามารถกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าตลาด หรือ Soft Loan ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี รวมมีวงเงิน 1 แสนล้านบาท ระยะเวลากู้ไม่เกิน 7 ปี

 

2.  กระทรวงการคลัง โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ให้รัฐบาลค้ำประกันร้อยละ 70 และที่เหลืออีกร้อยละ 30 แบ่งเป็น (1) บสย. ร้อยละ 15 และ (2) ร้อยละ 15 ที่เหลือ ให้ บสย. และธนาคารพาณิชย์ร่วมกันรับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปล่อยสินเชื่อให้กับ SMEs ได้มากขึ้น รวมถึงลดภาระความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ลดลง

 

3.  ตั้งกองทุนเข้าช่วยเหลือ SMEs ขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการลงทุน โดยมีธนาคาร 3 แห่งร่วมทุนกัน คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเอสเอ็มอี ธนาคารละ 2 พันล้านบาท รวมเป็น 6 พันล้านบาท และธนาคารอาจจะเข้าไปถือหุ้นของ SMEs บางส่วน

 

               

มาตรการด้านภาษี

 

1. SMEs ที่ตรงตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543

 

2. สามารถได้รับการลดหย่อนภาษีร้อยละ 10 ในระยะเวลา 3 ปี หรือ 2 รอบบัญชี

 

3. SMEs ที่เริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือ Start up ในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ เช่น เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม เป็นต้น แต่มีต้นทุนและการลงทุนสูง สามารถยกเว้นภาษีเป็นระยะเวลา 5 ปี

 

มาตรการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme (PGS5) เป็นโครงการปรับปรุงใหม่ล่าสุด ของ บสย. โดยมีวงเงินค้ำประกันสูงสุดถึง 40 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงิน ระยะเวลาค้ำประกันสูงสุดไม่เกิน 7 ปี คุณสมบัติของผู้ประกอบการ คือ มีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 2 ร้อยล้านบาท (ไม่รวมที่ดิน) ประกอบกิจการโดยชอบด้วยกฎหมายและต้องไม่ขัดต่อศีลธรรม เมื่อได้รับสินเชื่อแล้วต้องไม่คืนหนี้เดิมกับธนาคารผู้ให้กู้เดียวกัน มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และสามารถจ่ายชำระหนี้คืนต่อสถาบันการเงินได้ ผู้กู้ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ขั้นต่ำ และอัตราค่าธรรมเนียมมีดังนี้

 

1. ปีที่ 1 ไม่เสียค่าธรรมเนียมค้ำประกัน*

 

2. ปีที่ 2 ผู้กู้จ่ายค่าธรรมเนียม ร้อยละ 0.50 ต่อปี รัฐช่วยค่าธรรมเนียม ร้อยละ 1.25 ต่อปี*

 

3.  ปีที่ 3 ผู้กู้จ่ายค่าธรรมเนียม ร้อยละ 1.00 ต่อปี รัฐช่วยค่าธรรมเนียม ร้อยละ 0.75 ต่อปี*

 

4. ปีที่ 4 ผู้กู้จ่ายค่าธรรมเนียม ร้อยละ 1.50 ต่อปี รัฐช่วยค่าธรรมเนียม ร้อยละ 0.25 ต่อปี*

 

5. ปีที่ 5 – 7 ผู้กู้จ่ายค่าธรรมเนียม ร้อยละ 1.75 ต่อปี *รัฐช่วยค่าธรรมเนียมแทนผู้กู้รวม 4 ปี สูงสุดถึงร้อยละ 4

 

ทั้งนี้ จะสิ้นสุดโครงการวันที่ 30 มิถุนายน 2559 หรือวงเงินค้ำประกันครบ 1 แสนล้านบาท แล้วแต่เงื่อนไขใดถึงก่อน

 

มาตรการค้ำประกันสินเชื่อ Start-up เพื่อผู้ประกอบการรายใหม่ โดยจะต้องเป็น SMEs รายใหม่ที่ยังดำเนินการไม่ถึง 3 ปี ผ่านการฝึกอบรมหรืออยู่ระหว่างการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจ เช่น การตลาด การผลิต การจัดการ และการเงิน จากหน่วยงานที่ บสย. เห็นชอบ มีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 2 ร้อยล้านบาท (ไม่รวมที่ดิน) ประกอบกิจการโดยชอบด้วยกฎหมายและต้องไม่ขัดต่อศีลธรรม เมื่อได้รับสินเชื่อแล้วต้องไม่คืนหนี้เดิมกับธนาคารผู้ให้กู้เดียวกัน วงเงินค้ำประกันสูงสุด 2 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงิน ระยะเวลาค้ำประกันสูงสุดไม่เกิน 7 ปี อัตราค่าธรรมเนียม ค้ำประกันปีแรก ฟรี ปีถัดไปผู้กู้ชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันร้อยละ 2.5 ต่อปีของวงเงินค้ำประกัน  ทั้งนี้ สิ้นสุดโครงการวันที่ 31 ธันวาคม 2558 หรือวงเงินค้ำประกันครบ 1 หมื่นล้านบาท แล้วแต่เงื่อนไขใดถึงก่อน

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ