บทความนี้พยายามวิเคราะห์พัฒนาการของมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของความรู้อันนำไปสู่การปฏิวัติเทคโนโลยีที่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 จนถึงขณะนี้และกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น โดยในครั้งนี้จะเน้นให้เห็นถึงองค์ประกอบที่สำคัญที่เป็นปัจจัยอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
มนุษย์ (homo sapiens) เริ่มกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 200,000 ปีที่แล้วโดยถิ่นกำเนิดอยู่ที่แอฟริกาและค่อยๆเคลื่อนย้ายไปสู่ทวีปต่างๆ ทั่วโลกโดยใช้เวลาเป็นหมื่นเป็นแสนปี
มนุษย์ (homo sapiens) อยู่ในกลุ่มสายพันธ์ที่เรียกว่า hominids ซึ่งแยกตัวออกจากสายพันธุ์ลิงชิมแปนซีเมื่อ 4 ล้านปีที่ผ่านมา กลุ่ม hominids ที่เก่าแก่คือ homo habilis และ homo erectus กล่าวคือยืนหลังตรงเหมือนคนแต่สมองยังเล็กเหมือนสัตว์ บางตำราบอกว่า homo habilis อยู่ก่อน homo erectus เมื่อประมาน 3-4 ล้านปี บางตำราก็กล่าวว่า homo habilis อยู่ร่วมสมัยกับ homo erectus ( ครึ่งคนครึ่งสัตว์ ครึ่งคนคือมีหลังตรง และครึ่งสัตว์คือสมองยังเล็ก) สายพันธุ์ที่สืบทอดต่อมาจาก homo erectus คือ neanderthal และ homo sapiens สองสายพันธ์นี้เคยอยู่ร่วมกันเป็นเวลาหลายหมื่นปีก่อนเมื่อประมาน 3 หมื่นปีที่แล้ว Neanderthal ก็สูญพันธุ์ บางตำรากล่าวว่าที่สูญพันธ์เพราะถูก homo sapiens ฆ่าตาย ซึ่งถ้าเป็นจริงก็ถือได้ว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ บางตำราก็กล่าวว่า neanderthal ปรับตัวไม่ทันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปดังนั้น homo sapiens จึงเป็นเผ่าที่คงอยู่ และครองโลกเหนือสัตว์อื่นทั้งปวงจนถึงขณะนี้ ปัจจัยที่ทำให้ homo sapiens คงอยู่และครอบงำโลกได้ก็เพราะปัจจัยระบบคิด ความฉลาด การสื่อสาร ปัจจัยทั้ง 3 คือองค์ประกอบที่เรียกว่า sapiens อันหมายถึง ความฉลาด
พัฒนาการจากลิงชิมแปนซีมาสู่ homo erectus และ homo sapiens ต้องใช้เวลาหลายล้านปี โดยครั้งแรกเป็นการปรับเปลี่ยนในส่วนขององค์ประกอบทางสรีระจากยืนหลังตรง (Homo erectus) มาสู่กะโหลกศีรษะที่ใหญ่ขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลมาจากการกินอาหาร โดยเริ่มจากการกินผักผลไม้มาสู่การกินซากสัตว์ กินไขสัตว์และกินปลา สรีระที่เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะสมองที่โตขึ้นทำให้ homo sapiens สามารถที่จะคิดได้ลึกกว่า มีความสามารถในการออกเสียงได้คล่องกว่าและหลากหลายกว่าอันนำไปสู่ภาษาพูด และมือที่ว่างจากการยืนตัวตรงทำให้สามารถใช้ความฉลาดในการผลิตของเพื่อช่วยตัวเองและป้องกันชีวิตจากภัยอันตรายของสัตว์ต่างๆ ความฉลาดทำให้ homo sapiens สามารถสร้างอาวุธและฆ่าสัตว์ใหญ่เพื่อป้องกันภัยและหาอาหาร ความฉลาดทำให้เห็นถึงวิธีการเอาหินใบไม้แห้งมาขัดกันเพื่อผลิตไฟ พัฒนาการของไฟนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมากมายของมนุษย์เริ่มตั้งแต่การใช้ไฟหาอาหาร และใช้ไฟในเทคโนโลยีต่างๆ
อย่างไรก็ตามการปฏิวัติครั้งสำคัญของมนุษย์เริ่มครั้งแรกเมื่อ 7 หมื่นปีที่แล้วเราเรียกว่า การปฏิวัติการรับรู้ (cognitive evolution) การปฏิวัติดังกล่าวหมายความว่ามนุษย์ใช้ความสามารถในการคิดและการพูดและสื่อสารไปยัง คนอื่นๆ ด้วยความลึกซึ้งและขยายวงได้กว้างขึ้น เช่น ถ้าลิงชิมแปนซี ตัวใดเห็นนกอินทรีก็อาจจะร้องให้ลิงตัวอื่นรู้และลิงตัวอื่นก็จะแหงนหน้าขึ้นฟ้าเพื่อดูนกอินทรีย์ แต่หากลิงตัวใดเห็นสิงโตก็อาจจะส่งสัญญาณให้รู้ถึงอันตรายจากสิงโต ลิงตัวอื่นๆ ก็จะรีบปีนขึ้นต้นไม้เพื่อหนีภัย ในกรณีของ homo sapiens ความสามารถในการสื่อสาร การพูดและการเขียนตลอดถึงความฉลาดทำให้การสื่อสารมีความลึกซึ้งและขยายวงได้กว้าง เช่น มีคนๆ หนึ่งใช้ภาษาพูดอธิบายว่ามีสิงโตและสัตว์ใหญ่อื่นๆ อยู่ในหนองน้ำที่คนมักจะไปดื่มและยังบอกต่อว่าสัตว์เหล่านี้กำลังมา homo sapiens ก็จะรู้ถึงอันตรายร่วมกันซึ่งอาจจะมีการอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นการป้องกันตัวเอง การสื่อสารแบบนี้ทำได้เฉพาะ homo sapiens ลักษณะของการสื่อสารดังกล่าวนำไปสู่ความจำเป็นในการรวมตัวจึงเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” เป็นการรวมตัวเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยและเป็นการรวมตัวเพื่อวิถีชีวิตที่ดีขึ้นอันเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ความเป็นสัตว์ของมนุษย์ (homo) อาจจะนำเอาส่วนประเสริฐหรือความฉลาดมาฆ่าทำลายล้างมนุษย์ด้วยกัน เช่น อาจมีการสร้างอาวุธมาทำลายล้างกัน
ในยุคของการปฏิวัติการรับรู้ (cognitive evolution) การสื่อสารจะออกมาในรูปของการพูดคุยและการซุบซิบนินทา (gossip) ผลจากการพูดคุยและการซุบซิบนินทานั้นด้านหนึ่งนำไปสู่การพัฒนาในเรื่องของการกิน เช่น บางคนบอกว่าสิ่งนั้นอร่อย สิ่งนี้อร่อย สัตว์นั้นกินได้ พืชชนิดนี้กินไม่ได้ เป็นต้น ถ้าจะกินให้อร่อยต้องใช้ไฟก็กลายเป็นตำราสเต๊กและหมูหันในปัจจุบันนี้นั่นเอง การซุบซิบนินทาอาจนำไปสู่พัฒนาการของศาสนา บางคนอาจเป็นห่วงเรื่องน้ำท่วมหรือฝนแล้งมีการพูดคุยกันจึงจำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติ เกิดเป็นศาสนาในขั้นต้นอาจมีการไหว้พระจันทร์ ไหว้ต้นไม้จนนำไปสู่การเคารพบูชาพระเจ้าและกลายเป็นศาสนา การอยากมีชีวิตหลังความตาย การพูดคุยกันเรื่องนี้นำไปสู่การสร้างปิรามิดและการปลอบใจเรื่องชีวิตนิรันดร์
การซุบซิบนินทานำไปสู่การกำเนิดของปรัชญาและรัฐศาสตร์ อาจเป็นการซุบซิบนินทาระบบการเมืองที่เป็นอยู่จึงเกิดการพัฒนาระบบการเมืองแบบใหม่ เพลโตเห็นความตายของโสเครติสที่ถูกเสียงส่วนใหญ่บังคับให้ดื่มยาพิษเพราะพูดไม่เข้าหูคนส่วนใหญ่ เพลโตจึงสื่อสารกับคนอื่นๆ ว่าเสียงข้างมากเป็นอันตรายนำไปสู่เผด็จการ อริสโตเติลใช้การเขียนนำแนวคิดของเพลโตมาถ่ายทอด การซุบซิบนินทาอาจนำไปสู่การเกิดจริยธรรม เช่น เมื่อมีคนที่แต่งงานแล้วไปมีชู้กับคนอื่นก็ถูกซุบซิบนินทาว่าไม่ดีจนเกิดเป็นจริยธรรมขึ้น การซุบซิบนินทายังนำไปสู่การเกิดกฎหมาย เช่น เมื่อมีการขโมยของกันคนก็จะมองไม่ดีและมีการซุบซิบนินทาจนมีการสร้างกฎหมายขึ้น อาจกล่าวได้ว่าการปฏิวัติการรับรู้เป็นยุคที่อธิบายถึงจุดเริ่มต้นของพัฒนาการความรู้ของชาติพันธุ์มนุษย์
การปฏิวัติครั้งที่ 2 ซึ่งสำคัญมากก็คือการปฏิวัติเกษตรกรรม (agricultural revolution) ที่เกิดขึ้นเมื่อ 12,000 ปีที่แล้วทำให้มนุษย์หยุดเร่ร่อนและรวมตัวกันเพื่อพัฒนาอาหารและก็จะมีการต่อสู้แย่งชิงอาหารกันจึงเกิดการรวมตัวเป็นชุมชนและมีการต่อสู้แย่งชิงกัน ฝ่ายที่แพ้ก็จะตกเป็นทาส เกิดระบบทาสขึ้นมาและเกิดเป็นอาณาจักร เกิดอาณาจักรเมโสโปเตเมีย อียิปต์และจีนเมื่อประมาณ 4-5 พันปีที่แล้ว และเมื่อ 4-5 ร้อยปีก่อนคริสตกาลก็เกิดอาณาจักรกรีกและตามมาด้วยโรมัน ระบบทาสได้กลายมาเป็นระบบศักดินาและเป็นต้นกำเนิดของรัฐชาติ การปฏิวัติเกษตรกรรมใช้เวลาหลายพันปีและองค์ประกอบบางส่วนยังอยู่ถึงทุกวันนี้
การปฏิวัติของ homo sapiens ครั้งสำคัญที่สุดคือการปฏิวัติด้านเทคโนโลยี (scientific revolution) ซึ่งเริ่มต้นเมื่อประมาณศตวรรษที่ 16 homo sapiens พันธุ์หนึ่งคือพวกชนชั้นกลางไม่พอใจสถานะของตนทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจเพราะสมัยนั้นเป็นยุคที่ชนชั้นกลางไม่มีอำนาจแสดงความเห็น เพราะถูกครอบงำโดยศาสนาในสเปนและตระกูล Habsbourg มีการประหารผู้คิดต่างโดยการเผาทั้งทั้งเป็น กาลิเลโอถูกคุมขังเพราะเห็นต่างว่าโลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาลและเชื่อว่าโลกกลมซึ่งขัดกับหลักคำสอนของศาสนาคริสต์คาทอลิค homo sapiens กลุ่มนี้เป็นผู้เห็นต่างจึงต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดและรักษาศักดิ์ศรีของตน homo sapiens เหล่านี้ได้เรียนรู้จาก homo sapiens ในสมัยกรีกและโรมันและนำมาปรับใช้ในศตวรรษที่ 16 เรียกว่า ยุคเรเนซองส์ (renaissance ) homo sapiens กลุ่มนี้มีแนวคิดว่ามนุษย์มีความฉลาด (sapiens) มาจากปรัชญามนุษย์นิยม (humanism) ของกรีกที่ว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลาง มนุษย์จึงควรมีอิสระทางความคิด homo sapiens กลุ่มนี้นำแนวคิดดังกล่าวมาสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง ในขณะที่มีอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่ามนุษย์มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา (religious liberism) มนุษย์ไม่จำเป็นต้องพึ่งพระสันตปาปา มนุษย์สามารถสื่อสารกับพระเจ้าได้เอง Homo sapiens นี้คือ มาร์ติน ลูเธอร์ ซึ่งนำไปสู่การแบ่งแยกศาสนาคริสต์ออกมาเป็นคริสตังและคริสเตียน
Homo sapiens กลุ่มเดียวกันมองว่ามนุษย์ควรมีเสรีภาพในการจัดการเพราะฉะนั้น Homo sapiens กลุ่มนี้ได้สื่อสารให้เห็นถึงความสำคัญของเสรีภาพทางเศรษฐกิจ homo sapiens นี้ได้แก่ อดัม สมิธและเดวิด ริคาโด แนวคิดดังกล่าวนำไปสู่ระบอบทุนนิยมและเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ มนุษย์กลุ่มเดียวกันสื่อสารให้เห็นถึงความสำคัญของเสรีภาพทางการเมือง อันนำไปสู่ประชาธิปไตยเสรีนิยมอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยเสรีนิยมในปี ค.ศ. 1789 ที่ฝรั่งเศส homo sapiens นี้คือ ฌอง ฌาค รุสโซ homo sapiens ที่มองนอกกรอบนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านศาสนา เศรษฐกิจและการเมือง และยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอันได้แก่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 ที่มีการใช้เครื่องจักรไอน้ำเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่แล้ว การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ที่มีการประดิษฐ์ไฟฟ้าเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 คือระบบคอมพิวเตอร์เมื่อ 60 ปีที่แล้วและการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3.5 คือระบบดิจิตัลที่เกิดขึ้นเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว และการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นการผสานระหว่างดิจิตัล ชีวภาพ physical และนาโนซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมหาศาล การปฏิวัติทั้ง 4 ครั้งล้วนมาจาก homo sapiens ที่มาจากตะวันตกจากยุโรปถึงสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันและยังได้แพร่อารยธรรมไปสู่ทุกจุดของโลกและครองโลกในทุกวันนี้ Homo sapiens อื่นๆ เริ่มเลียนแบบและเรียนรู้จาก homo sapiens เหล่านี้
ประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์มนุษย์มีพัฒนาการมากว่า 7 หมื่นปี สิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้อยู่ในขั้นตอนของการปฏิวัติเทคโนโลยีซึ่งเกิดเมื่อประมาณ 500 ปีโดย homo sapiens ในยุโรปและอเมริกา homo sapiens เหล่านี้เป็นผู้ครอบงำอารยธรรมของโลกจนถึงทุกวันนี้ หลายคนอาจแปลกใจว่าทำไม homo sapiens ในยุโรปจึงมีอิทธิพลต่อทั่งโลก อาจกล่าวได้ว่าไม่ได้มาจากสรีระที่แตกต่างกันเพราะมนุษย์ขนาดของกะโหลกศีรษะที่เท่ากัน แต่มาจากกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน กระบวนการเรียนรู้แบบให้มองนอกกรอบทำให้ homo sapiens
เหล่านี้มีความคิดที่ลึกซึ้งและซับซ้อน ในขณะที่ homo sapiens ที่ใช้ตาและหูก็จะมีระบบคิดแบบตื้นเขิน ระบบคิดที่ลึกซึ้งนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมที่ลึกซึ้ง การที่ประเทศใดจะเจริญได้นั้นข้อสำคัญไม่ใช่การปฏิรูปการศึกษา แต่เป็นการพัฒนาการศึกษาที่นำไปสู่ homo sapiens ที่คิดนอกกรอบ ประเทศจะพัฒนาได้หรือไม่คำตอบจึงอยู่ที่คุณภาพของการศึกษาที่เราจะปฏิรูป