เทคนิค Digital Storytelling เล่าเรื่องผ่านโซเชียลมีเดีย 2017 : ชีพธรรม คำวิเศษณ์

ชีพธรรม คำวิเศษณ์

โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือที่นำเสนอตัวเองที่ทุกคนเป็นสื่อ สมาร์ทโฟนเหมือนกับสถานีโทรทัศน์ เราเป็นผู้ผลิตสื่อผู้ผลิตคอนเทนต์ให้กับผู้ชมที่เป็นเพื่อนของเราในโซเชียล ยิ่งกระแส Facebook Live การถ่ายทอดสดมาแรง การเล่าเรื่องยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น

งานเล่าเรื่องกับการเขียนบางครั้งก็มีความยากไม่แตกต่างกัน ในชั้นเรียน ป.โท คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ วิชาโซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยรังสิต นักศึกษานั่งอย่างตั้งใจกันในชั้นเรียน ผมพยายามจะค้นหาเค้นเอาความเก่ง ความถนัด จุดแข็งของแต่ละคนออกมา นำเสนอ ให้ฝึกว่าอยากจะเล่าเรื่องอะไร นำเสนออะไร  ภายในชั้นเรียนนักศึกาษมาจากหลากหลายสาขา  จบศิลปศาสตร์  จบคอมพิวเตอร์  จบการออกแบบเกมส์ จบรัฐศาสตร์ ฯลฯ แต่ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะนำเสนออะไร ออกมา

โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือที่นำเสนอตัวเองที่ทุกคนเป็นสื่อ สมาร์ทโฟนเหมือนกับสถานีโทรทัศน์  เราเป็นผู้ผลิตสื่อผู้ผลิตคอนเทนต์ให้กับผู้ชมที่เป็นเพื่อนของเราในโซเชียล ยิ่งกระแส Facebook Live  การถ่ายทอดสดมาแรง การเล่าเรื่องยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น

“มาเรียนหนังสือกับผมทุกคนต้องเปลี่ยนตัวเอง ให้มีเรื่องเล่าและเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้นำเสนอและต้องมีคนรู้จักมากขึ้นบนโลกโซเชียลมีเดีย เพื่อหน้าที่การงานในอนาคตจากการเรียนในครั้งนี้ คะแนนเป็นเรื่องรอง เพราะโซเชียลมีเดียทำให้ทุกคนเป็นสื่อนำเสนอเรื่องราวของตัวเองได้ ” ผมย้ำกับนักศึกษาในชั้นเรา

Storytelling คือการบอกเล่าเรื่องราว นำเสนอ อยากเล่าเรื่องอะไร ก็เล่าไป  โลกทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน ก็มีแต่เรื่องเล่าทั้งนั้น เมื่อครั้งเป็นเด็กเราคงจะนิทานกันได้  เราชอบฟังนิทาน  นิทานก็คือเรื่องเล่านั่นเอง เข้าสู่วัยรุ่นชอบเรื่องราวของความรัก บทเพลง ละคร ภาพยนตร์ สิ่งเหล่านั้นก็คือเรื่อง เพียงแต่เราเป็นผู้รับชม ตอนนี้เรากำลังเป็นตัวเองเป็นผู้นำเสนอ เพราะฉะนั้นต้องฝึกการเล่าเรื่อง

Digital Storytelling ก็คือการฝึกเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิตอล ผ่านโซเชียลมีเดีย  การเล่าเรื่องแบบเดิมบน Line   Facebook Twitter เราเล่าเรื่องราวของเราผ่านภาพและข้อความ  แต่สิ่งที่ผมอยากจะเน้นในปี 2017 การคือการเล่าเรื่องด้วยวีดีโอ หรือ ใช้ตัวของเราเองเป็นนำเสนอเรื่องราวสารคดีในสิ่งที่เราอยากนำเล่าเรื่อง

https://www.youtube.com/watch?v=jn_bL9Bsj_E

แปลงความผิดหวังเป็นโซเชียลมีเดีย

อ๋อมเป็นนักศึกษาชั้นเรียน ป.โท ชั้นเรียนของผม เขาเป็นนักพัฒนาเกมส์  เรื่อง 3D การออกแบบคาเรคเตอร์เกมส์ และการทำกราฟฟิค ไม่ต้องไม่สอนเลยครับ ระดับอาจารย์  วันนั้นผมสอนเรื่องของการเล่าเรื่อง และ Content Management การบริหารคอนเทนต์  

“อาจารย์ครับ ผมมีอะไรให้อาจารย์ชม”

“ได้เลยครับ อะไรหรือ”

“ก่อนวาเลนไทน์ สัก 7 วัน ผมเลิกกับแฟน ผมอกหัก ในจิตใจของผมอยากปลดปล่อย

อยากเล่าเรื่องอะไรเต็มไปหมด

ผมเปิดเฟซบุ๊กแฟนเพจคำคม แล้วทำภาพกราฟฟิค และคำคมเกี่ยวกับความรักต่างๆ

https://www.facebook.com/KumKwaum/?fref=ts

คำคม

 

โพสต์เข้าไป แล้วซื้อโฆษณาด้วย มีคนเข้ามากด Like เพจกับหมื่นกว่าคน เป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมมาก”

หลังจากที่ผมได้ฟังแล้วก็บอกเขาไปว่า

“ยอดเยี่ยมมากครับ นักศึกษา เปลี่ยนความผิดหวังเป็นโซเชียลมีเดีย  ใส่เรื่องราวเข้าไป

ความรักเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอ

ความรักเป็นเรื่องธรรมชาติเหมือนกับการหายใจ”

จากนั้นเขาก็เปิดเข้าไปในระบบ Facebook Insight  เผื่อให้ผมได้เห็นสถิติ ของ จำนวน ผู้ชาย ผู้หญิงเข้ามา กด Like Comment  Share

“อาจารย์ครับ ตัวเลขบอกว่า ผู้หญิงมาก่อน Like มากกว่าผู้ชาย เป็นสถิติที่น่าสนใจ”

“ผู้หญิงอินและเข้าถึงความรักมากกว่าผู้ชาย ความอ่อนไหวทางอารมณ์ เป็นตัวเลขที่น่าสนใจมาก แล้วอยากจะทำอะไรต่อไปละ ในเมื่อมีเรื่องราวของความรักใส่ลงไปให้สมาชิกแฟนเพจแล้ว

“ตอนนี้ก็ยังไม่รู้เหมือนกันครับ ในอนาคตอาจจะทำเสื้อขาย หรือของที่ระลึก หาสมาชิกเยอะๆ ก่อนค่อยว่ากันอีกที”

“โอเคทำต่อไปครับ นักศึกษาเก่งมาก” ผมให้กำลังใจกับเขา

นี่เป็นตัวอย่างการนำความผิดหวังมาเป็นเรื่องราวผ่านโซเชียล ซึ่งก็ทำได้ดีและโดนใจผู้คนมาก

ในชั้นเรียนผมได้เน้นดึงสิ่งที่เขาอยากเล่าออกมาอัดคลิปพูดออกไปแล้วลง  Youtube และเขียนบล๊อค แปลงเรื่องเล่าเป็นโซเชียลมีเดียให้หมด และทำให้คนสนใจ อยากอ่าน อยากชมและแชร์ต่อ

ถัดมาไม่กี่วัน  สกอ. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัล และมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา  ได้จัดอบรม Digital Storytelling วิทยากรหลักก็มีผม และ คุณมารพิณ เจ้าของ Youtube ​ Feelthai เกี่ยวกับเรื่องท่องเที่ยว  

งานนี้ ทาง สกอ. ต้องการนำภูมิปัญญาความรู้จากชุมชน เข้าไปไว้ใน Thaimooc.org

เป็นเว็บไซต์ใหม่ สำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ สำหรับทุกคนในเมืองไทย เพื่อเพิ่มทักษะความรู้และปลูกฝังนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับคนไทยรุ่นใหม่วัยโซเชียล

สกอ. ให้อบรม  ผู้นำชุมชน และความรู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาเป็นเรื่องราวผ่านโซเชียลมีเดีย

แรกเริ่มคุณมารพิณ เริ่มก่อน เช่นเรื่องของการเลี้ยงปลาดุกด้วยมะละกอ , การปลูกกล้วยให้มีกลิ่นต่างๆ  เช่นกลิ่นทุเรียนเข้าไป ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ เป็นภูมิปัญญาที่ไม่ได้ถูกเล่าและเผยแพร่ออกมา คลิปที่คุณมารพิณนำมาเป็นตัวอย่างนั้น ได้บันทึกและนำเสนอผ่านยูทูปด้วยตนเอง มีคนดูกันเป็นแสนวิว   คุณมารพิณ เล่าให้ฟังว่า ถึงแม้เราเป็นคนในท้องถิ่น ดูความรู้เหล่านี้อาจไม่น่าสนใจ แต่ในโลกโซเชียล และประเทศไทย ยังต้องการความรู้เล่านี้อีกมากอยากได้มองข้ามไปให้บันทึกและเล่าเรื่องลงไปแล้วอัพโหลดขึ้นไปยัง ยูทูปและเฟซบุ๊ค

 

https://www.youtube.com/watch?v=tBWuHUO5ms0

วิธีทำกล้วยออกกลางต้น ทำกล้วยกลิ่นทุเรียน 367,866 ครั้ง

มาถึงผู้เขียนต้องรับผิดชอบเรื่องทฤษฏีและปฏิบัติ  ส่วนการปฏิบัติต้องใช้แอพ Viva สำหรับเครื่องสมาร์ทโฟนแอนดรอย หรือถ้าหากใครใช้ไอโฟน แล้วติดตั้งแอป iMovi

ผู้เข้าอบรมทุกคนมีความรู้หมด   ผมเริ่มต้นด้วยคำถามว่า คุณมีความรู้เก่าที่เก่งที่สุดอะไรอยากเล่าให้ผมฟังบ้าง  ผมตั้งคำถามไว้ใน เฟซบุ๊ค เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถามและอยากเขียนเล่าเรื่อง ให้ค่อย ๆ มองเข้าไปในความเก่งและความรู้ของตนเอง   จากนั้นให้เปิด Facebook Live ขึ้นมาถ่ายทอดสด เล่าเรื่องที่มาอบรมและความรู้เก่าที่อยากจะเล่าให้ฟัง

จุดแข็งจุดเด่นของตนเอง  บางคนก็นึกไม่ออก ก็ค่อยๆ กระตุ้นถามว่า ในแต่ละวันเขาทำงานอะไรบ้าง ถามไปเรื่อยๆ ก็จะได้แก่นแท้ของความรู้ตัวที่เขามีอยู่

หลังจากให้นึกถึงความรู้เก่าแล้ว คราวนี้ผมเติมเรื่องราวตั้งคำถามใหม่ใส่เข้าไป

ผมย้ำลงไปอีกว่า การเชื่อมโยงความรู้เก่า กับ ความรู้ใหม่  เอามาเชื่อมโยงประสานกัน

การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง ต่อคอนเทนต์ เรื่องเล่าที่จะนำเสนอให้กับผู้ชม

การให้ความสำคัญกับผู้ชม ความเชื่อมั่นต่อตนเองในการนำเสนอ อย่ากังวัลว่าจะไม่มีใครชม

การฟื้นฟูความรู้เดิม

 

การสร้างองค์ความรู้ใหม่ เชื่อมโยงจากองค์ความรู้เก่า มองเข้าไปในชุมชน อยากนำเสนอเรื่องอะไร  พอถามความรู้ใหม่เข้าไป ทุกคนก็นึกอีกว่า เขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เพิ่มเติมลงไปบ้าง

ถ้ายังไม่มีแสดงว่าต้องไปสรรหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้ทันสมัยมาเล่าให้ผู้ชมฟัง ยังมีทฤษฏีเสริมต่อเข้าไปอีก Who เล่าให้ใครฟัง กลุ่มไหน  ถ้าเป็นภาษาถิ่น คำเมือง อีสาน หรือแหลงใต้ไปเลยก็ได้จะได้เป็นธรรมชาติ

What เรื่องราวคอนเทนต์ที่อยากนำเสนอ เป็นเรื่องอะไร น่าสนใจแค่ไหน ความรู้นั้นเป็นอะไร

Where เมื่อนำคอนเทนต์เสร็จแล้วจะนำไปแชร์ไปปล่อยในโซเชียลเน็ตเวริ์คไหน

Facebook Line Twitter Youtube  ฯลฯ  เพราะแต่ละโซเชียลมีจุดแข็งจุดอ่อนไม่เหมือนกัน

ถ้านำวีดีโอไปปล่อยใน Faebook อาจจะเร็วแต่มากแต่ไปอยู่ในกลุ่มเพื่อน แต่ถ้าไปอยู่ใน Facebook Fanpage ที่แรงๆ อาจมีการแชร์ได้เร็วกว่า  Youtube

ส่วน Youtube ก็ยอดวิวอาจจะช้าแต่ระบบการแนะนำและการค้นหา จะทำให้ผู้ชมคนหาได้อย่างรวดเร็ว และถ้าหากเปิดเป็นคอนเทนต์ที่หารายได้ก็จะทำได้ให้เงินจาก Google ด้วย

 

สำหรับการตัดต่อ แบบง่าย ๆ ผมสอนการใช้แอป Viva ให้นำภาพต่างๆ ที่มีอยู่ในเครื่องสมาร์ทโฟน จากนั้นกดปุ่มบันทึกเสียงลงไปในภาพ ซึ่งก็จะทำให้คลิปนั้นเป็นสารคดี เรื่องราว ด้วยเสียงของเราเอง เป็นอะไรที่ทำง่าย ๆ ที่ช่วยให้เกิด Digital Storytelling จากนั้นนำไปแชร์และใช้กฏกระจายต่อ  

 

ผมอยากจะขอเชิญชวนทุกคน เป็นนักเล่าเรื่องชีวิตและความรู้ประสบการณ์ของตัวเองในแบบ Digital Storytelling ลงไป เรื่องธรรมดา ก็สร้างไม่ให้ธรรมดา   เราเป็นคนธรรมดา ถ้าเล่าเรื่องเก่งๆ ก็เป็นนักเผยแพร่ได้   พระที่เทศน์เก่งๆ   นักการเมือง นักจัดรายการวิทยุ นักข่าว โค้ชปลุกใจ  ครูสอนศาสนา อาจารย์มหาวิทยาลัย  ล้วนก็ใช้เรื่องเล่าทั้งน้น แต่ Digital Storytelling จะทำให้เรื่องเล่าของท่าน แชร์กระจายต่อ ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญกับชีวิตของทุกคน

Digital Storytelling เหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจเพราะเป็นการโน้มน้าวลูกค้าได้อย่างดี โดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณาจำนวนมาก

 

ชีพธรรม คำวิเศษณ์​

จันทร์ 6 มีนาคม พ.ศ.2560

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ