บูรพา-อาคเนย์ หลังเยือนลาว : โอบาม่า ได้กล่อง หลี่เค่อเฉียง ได้เงิน : บัณรส บัวคลี่

บัณรส บัวคลี่

ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา สปป.ลาวเพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลกจากที่ประธานาธิบดีโอบามาแห่งสหรัฐอเมริกานำเครื่องแอร์ฟอร์ซวันไปลงจอดถึงสนามบินวัดไต

ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา สปป.ลาวเพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลกจากที่ประธานาธิบดีโอบามาแห่งสหรัฐอเมริกานำเครื่องแอร์ฟอร์ซวันไปลงจอดถึงสนามบินวัดไต นับเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เยือนลาว จากนั้นก็เรียกคะแนนนิยมด้วยการเดินแวะดื่มน้ำมะพร้าวริมถนนเมืองหลวงพระบาง ทั้งยังประกาศให้เงินช่วยเหลือปฏิบัติการกู้ ระเบิดบ่ทันแตก ที่ตกค้างอีกมหาศาลเป็นเงิน 90 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3 พันกว่าล้านบาท แล้วก็ยังไปพบปะกับเยาวชนคนหนุ่มสาวด้วย

ภาพสีสันที่ดูหวือหวาของมหาอำนาจตะวันตกที่ปรากฏผ่านสื่อ ให้ความรู้สึกถึงความสัมพันธ์ด้านบวก ผสมกับแรงโหมของสื่อตะวันตกล่วงหน้า ที่ได้ชี้ว่าโอบาม่าไปลาวรอบนี้ ก็เพื่อจะลดอิทธิพลของปักกิ่งลง มีการวิเคราะห์เจาะลึกขนาดระบุว่ารัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของ นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีปัจจุบันโน้มเอียงไปทางเวียดนามมากกว่าจีน ประกอบกับจีนกำลังบาดหมางกับเวียดนามและอีกหลายชาติจากกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ อีกทั้งยังบอกวิเคราะห์ไปอีกว่าลาวเองอึดอัดกับสารพัดโครงการหาประโยชน์ของจีน อิทธิพลของจีนที่ครอบงำเหนือลาวนั้น ยิ่งอยู่ไปก็ยิ่งหนักข้อขึ้น

ข้อสังเกตของสื่อฝรั่งเองก็มีเหตุมีผลอยู่พอสมควร เพราะโครงการตามยุทธศาสตร์ขยายความร่วมมือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ที่จะมีรถไฟจากยูนนานผ่านลาวออกมาหนองคาย ซึ่งเป็นข่าวมาตั้งแต่ปี 2012  แต่ก็เชื่องช้าเหลือเกินเมื่อปลายปีที่แล้วได้เริ่มมีพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง แต่ในทางปฏิบัติจริงยังไม่คืบหน้าเท่าใดนัก โครงการรถไฟถูกประชาชนชาวลาวมองว่าตนเองในฐานะประชาชนเจ้าของประเทศแทบไม่ได้อะไร ผู้เขียนเคยได้ยินกับหู ผู้ประกอบการชาวลาวหลวงพระบางรายหนึ่งบอกว่า หากจะทำโครงการรถไฟสู้เอาเงินงบประมาณไปทำถนนหนทางดีๆ เพื่อขนถ่ายสินค้าเกษตรยังดีกว่า เพราะสภาพถนนเชื่อมระหว่างเมืองของลาวเองยังไม่ดีเลย

ในขณะที่การมองถึงการดุลอิทธิพล ระหว่างจีนกับเวียดนามที่มีต่อลาวก็มีน้ำหนักไม่น้อย เวียดนามนั้นเป็นสหายร่วมรบในสงครามปฏิวัติ กรรมการพรรครุ่นแรกที่ปฏิบัติการในถ้ำเมืองเวียงไซเอาชนะสงครามมาได้ก็เพราะสหายเวียดเป็นสำคัญ จนกระทั่งทุกวันนี้ต่อให้เศรษฐกิจของจีนจะรุกเข้ามาขนาดไหน แต่สำหรับเมืองชายแดนทางตะวันออกก็ยังมีอิทธิพลของเวียดนามครองอยู่ แต่นั่นก็เป็นเพียงบทวิเคราะห์จากผู้เฝ้าสังเกตภายนอก นั่นเพราะว่าลาวเป็นชาติเล็กที่มีธรรมเนียมการแสดงออกทางการเมืองแบบถ่อมตัว จำเป็นต้องสงวนที่จะแสดงท่าทีทางการเมืองที่ชัดเจนอย่างนี้มาโดยตลอด ขาหนึ่งมีสายสัมพันธ์ดั้งเดิมกับเวียดนาม แต่อีกขาหนึ่งไม่สามารถปฏิเสธอิทธิพลของมหาอำนาจแดนมังกรที่ชายแดนชิดติดกันได้

ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามบทวิเคราะห์ของนักสังเกตการณ์แค่ไหน หรืออย่างไร…ผลที่สุดแล้ว ต้องวัดกันด้วยปรากฏการณ์จริง

เช่น หากว่าโครงการรถไฟจีน-ลาวลงนามไปแล้วแต่ก็ยังไม่คืบหน้า มีการซื้อเวลา อ้างเรื่องโน้นนี้ต่อไป (เหมือนกับที่เดินๆ ถอยๆ ตั้งแต่ 2012จนถึงปัจจุบัน)  ก็อาจจะตีความได้ถึงพลังอิทธิพลของมหาอำนาจอินทรี และแสดงให้เห็นรูปธรรมของช่องว่างระหว่าง มังกรปักกิ่งกับสปป.ลาวได้จริง

แต่ทว่า การณ์กลับไม่เป็นไปตามนั้น!

นายกรัฐมนตรีหลี่เค่อเฉียงไปเยือนลาวร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเหมือนกัน แต่สปอตไลท์ไม่ได้จับเท่ากับโอบาม่า เหมือนแทบไม่ได้แถลงผลรับอะไรที่เป็นเนื้อเป็นหนังในรอบนี้ แต่ที่แท้แล้ว ปักกิ่งได้บรรลุความสำเร็จที่เป็นกุญแจสำคัญกับสปป.ลาวไปก่อนแล้ว นั่นเพราะหลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำรอบนี้ผ่านไปไม่นาน มันก็เกิดมีข่าวใหญ่ชิ้นสำคัญเมื่อกลางเดือนกันยายน หลังจากเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวันบินจากสนามบินนานาชาติวัดไตได้ไม่กี่วัน  รายงานถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟจีน-ลาว ขนาดที่สำนักข่าวซินหัวโหมประโคม

Laos-China railway construction to begin in December: officialhttp://news.xinhuanet.com/english/2016-09/15/c_135688053.htm

เนื้อข่าวบอกว่าการก่อสร้างทางรถไฟจีน-ลาว ระยะทาง 427 กิโลเมตร จะเริ่มในเดือนธันวาคมนี้  โดยจะมีการทำสัญญากับบริษัทก่อสร้างและบริษัทที่ปรึกษาด้านละ 6 บริษัทภายในเดือนตุลาคม ทั้งนี้ลาวได้ลงนามว่าจ้างกิจการของจีนไปแล้วเมื่อปีกลายจำนวน 1 บริษัทส่วนที่เหลือจะลงนามกันในรอบนี้พร้อมกันทั้งหมด

บริษัทจีนที่จะมาลงนามเป็นคู่สัญญากับรัฐบาลลาว ก็น่าสนใจ เพราะมันแสดงออกถึงบรรษัทยักษ์ใหญ่และการส่งออกเทคโนโลยีก่อสร้างของจีนยุคใหม่ บริษัทที่ว่าคือ China Railway Group เป็นกิจการที่รวมเอาบริษัททางรถไฟในประเทศควบรวมกันเป็นกลุ่มๆ ภายใต้ร่มธงเดียวกันแล้วก็แยกกันรับงานไปตามช่วงตอนที่จัดแบ่ง รวมแล้ว 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่งของระยะทางทั้งหมด

ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือกลุ่มกิจการก่อสร้างรถไฟจีน CRG ได้ประกาศถึงชัยชนะที่ได้รับสัญญาใหญ่ครั้งนี้เมื่อวันที่ 8 กันยายน ระหว่างที่ประธานาธิบดีโอบาม่ายังอยู่ระหว่างเยือนลาวอยู่เลย ซึ่งต่อมามีการแจ้งต่อตลาดหุ้นในฮ่องกง และสื่อค่อยนำมาเผยแพร่ต่อ สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนเลือกที่จะรายงานเรื่องนี้หลังจากสื่อท้องถิ่นเวียงจันทน์ได้รายงานไปก่อน

เว็บไซต์ IRJ-International Railway Journal นำเสนอรายละเอียดของสัญญาได้ชัดเจนดีว่านี่เป็นแค่ระยะทางส่วนเดียวจากระยะทางรวมกว่า 400 ก.ม. http://www.railjournal.com/index.php/asia/contracts-awarded-for-china-laos-railway.html

ในรอบนี้กิจการกลุ่ม CRG ของจีนได้งานไป 3 ช่วงตอน เมื่อรวมกับเมื่อปีกลายที่ China Railway No 2 Engineering Group ได้สัญญาก่อสร้างช่วงตอนที่ 4 ไปแล้วมูลค่า 2.3 พันล้านดอลลาร์ ก็เท่ากับว่ากิจการในเครือ CRG ของจีนได้งานก่อสร้างไป 4 ช่วงตอนจากทั้งสิ้น 6 ช่วงตอน

เฉพาะด้านวิศวกรรมก็ใหญ่มาก เพราะพื้นที่ภาคเหนือของลาวเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทางรถไฟสายนี้จะมีสถานีจอดรถ 33 สถานี จากพรมแดนลาว-จีนที่บ่อเตน ผ่านอุดมไซ หลวงพระบาง วังเวียง เรื่อยมาถึงเวียงจันทน์ จะต้องสร้างอุโมงค์ลอดภูเขาถึง 72 อุโมงค์ ที่ยาวที่สุด 9 กิโลเมตรกว่าๆ ที่รองๆ ลงมา 7-8 กิโลเมตรก็มี ทางรถไฟที่จะสร้างกว้าง 1.435 เมตร ดังนั้นคมนาคมลาวกับไทยจะต้องมีเจรจารายละเอียดกันว่าจะเชื่อมระบบกันยังไงต่อไป ตามข่าวเห็นว่าได้มีนัดหมายประชุมกันแล้วแสดงว่าเรื่องนี้มีความคืบหน้าจริงๆ  จีนนั้นชำนาญการก่อสร้างทางรถไฟผ่านสภาพภูมิประเทศภูเขาลักษณะนี้ในยูนนานมาก่อน เจอเขาก็เจาะอุโมงค์ เจอเหวสร้างสะพานสูงเป็นว่าเล่นมาก่อนแล้วจึงไม่น่าจะมีปัญหาทางวิศวกรรมอะไร

แต่รถไฟจีนมาลาวไม่ใช่ความเร็วสูงนะครับ บทสรุปสุดท้ายเป็นแค่ความเร็วปานกลางมีทั้งรถผู้โดยสารและรถสินค้า รัฐบาลลาวพิจารณาเรื่องนี้มายาวนานเพราะมันละเอียดอ่อน หากลาวไม่ได้อะไรเลยคงจะไม่เอาด้วย แต่เมื่อชั่งน้ำหนักแล้ว ทางรถไฟจะเป็นกลไกสำคัญของการยกระดับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจประเทศที่เป็น Landlocked country มาเป็น Land-linked Country การที่มีสถานีขนส่งรวมแล้ว 33 สถานีจอดแวะตามจุดสำคัญแทนที่จะเป็นความเร็วสูงจอดเฉพาะไม่กี่เมืองตามแผนเดิมเป็นตัวชี้ว่าลาวมีการเจรจากับจีนและได้พิจารณาชั่งน้ำหนักผลประโยชน์ของรถไฟต่อภาคเศรษฐกิจของลาวเองเป็นสำคัญ รัฐบาลลาวหวังว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษไซยะเซดถา หรือ Saysettha Development Zone ที่จีนร่วมทุนก่อสร้างใกล้นครเวียงจันทน์ กับทางรถไฟจะช่วยดันให้สปป.ลาวหลุดพ้นจากสถานะ Less Developed Countries ภายในปี 2020

ดูเหมือนว่าอ้อมกอดของพญามังกรจะอบอุ่นและเหนียวแน่นอยู่เหนือดินแดนลุ่มน้ำโขงศรีสัตตนา-ล้านช้าง แม้พญาอินทรีจะเพิ่งกางปีกโฉบลงมาอวดโฉมมาหยกๆ ก็ตาม.

 

บัณรส บัวคลี่

 

ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา สปป.ลาวเพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลกจากที่ประธานาธิบดีโอบามาแห่งสหรัฐอเมริกานำเครื่องแอร์ฟอร์ซวันไปลงจอดถึงสนามบินวัดไต นับเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เยือนลาว จากนั้นก็เรียกคะแนนนิยมด้วยการเดินแวะดื่มน้ำมะพร้าวริมถนนเมืองหลวงพระบาง ทั้งยังประกาศให้เงินช่วยเหลือปฏิบัติการกู้ ระเบิดบ่ทันแตก ที่ตกค้างอีกมหาศาลเป็นเงิน 90 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3 พันกว่าล้านบาท แล้วก็ยังไปพบปะกับเยาวชนคนหนุ่มสาวด้วย

ภาพสีสันที่ดูหวือหวาของมหาอำนาจตะวันตกที่ปรากฏผ่านสื่อ ให้ความรู้สึกถึงความสัมพันธ์ด้านบวก ผสมกับแรงโหมของสื่อตะวันตกล่วงหน้า ที่ได้ชี้ว่าโอบาม่าไปลาวรอบนี้ ก็เพื่อจะลดอิทธิพลของปักกิ่งลง มีการวิเคราะห์เจาะลึกขนาดระบุว่ารัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของ นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีปัจจุบันโน้มเอียงไปทางเวียดนามมากกว่าจีน ประกอบกับจีนกำลังบาดหมางกับเวียดนามและอีกหลายชาติจากกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ อีกทั้งยังบอกวิเคราะห์ไปอีกว่าลาวเองอึดอัดกับสารพัดโครงการหาประโยชน์ของจีน อิทธิพลของจีนที่ครอบงำเหนือลาวนั้น ยิ่งอยู่ไปก็ยิ่งหนักข้อขึ้น

ข้อสังเกตของสื่อฝรั่งเองก็มีเหตุมีผลอยู่พอสมควร เพราะโครงการตามยุทธศาสตร์ขยายความร่วมมือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ที่จะมีรถไฟจากยูนนานผ่านลาวออกมาหนองคาย ซึ่งเป็นข่าวมาตั้งแต่ปี 2012  แต่ก็เชื่องช้าเหลือเกินเมื่อปลายปีที่แล้วได้เริ่มมีพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง แต่ในทางปฏิบัติจริงยังไม่คืบหน้าเท่าใดนัก โครงการรถไฟถูกประชาชนชาวลาวมองว่าตนเองในฐานะประชาชนเจ้าของประเทศแทบไม่ได้อะไร ผู้เขียนเคยได้ยินกับหู ผู้ประกอบการชาวลาวหลวงพระบางรายหนึ่งบอกว่า หากจะทำโครงการรถไฟสู้เอาเงินงบประมาณไปทำถนนหนทางดีๆ เพื่อขนถ่ายสินค้าเกษตรยังดีกว่า เพราะสภาพถนนเชื่อมระหว่างเมืองของลาวเองยังไม่ดีเลย

ในขณะที่การมองถึงการดุลอิทธิพล ระหว่างจีนกับเวียดนามที่มีต่อลาวก็มีน้ำหนักไม่น้อย เวียดนามนั้นเป็นสหายร่วมรบในสงครามปฏิวัติ กรรมการพรรครุ่นแรกที่ปฏิบัติการในถ้ำเมืองเวียงไซเอาชนะสงครามมาได้ก็เพราะสหายเวียดเป็นสำคัญ จนกระทั่งทุกวันนี้ต่อให้เศรษฐกิจของจีนจะรุกเข้ามาขนาดไหน แต่สำหรับเมืองชายแดนทางตะวันออกก็ยังมีอิทธิพลของเวียดนามครองอยู่ แต่นั่นก็เป็นเพียงบทวิเคราะห์จากผู้เฝ้าสังเกตภายนอก นั่นเพราะว่าลาวเป็นชาติเล็กที่มีธรรมเนียมการแสดงออกทางการเมืองแบบถ่อมตัว จำเป็นต้องสงวนที่จะแสดงท่าทีทางการเมืองที่ชัดเจนอย่างนี้มาโดยตลอด ขาหนึ่งมีสายสัมพันธ์ดั้งเดิมกับเวียดนาม แต่อีกขาหนึ่งไม่สามารถปฏิเสธอิทธิพลของมหาอำนาจแดนมังกรที่ชายแดนชิดติดกันได้

ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามบทวิเคราะห์ของนักสังเกตการณ์แค่ไหน หรืออย่างไร…ผลที่สุดแล้ว ต้องวัดกันด้วยปรากฏการณ์จริง

เช่น หากว่าโครงการรถไฟจีน-ลาวลงนามไปแล้วแต่ก็ยังไม่คืบหน้า มีการซื้อเวลา อ้างเรื่องโน้นนี้ต่อไป (เหมือนกับที่เดินๆ ถอยๆ ตั้งแต่ 2012จนถึงปัจจุบัน)  ก็อาจจะตีความได้ถึงพลังอิทธิพลของมหาอำนาจอินทรี และแสดงให้เห็นรูปธรรมของช่องว่างระหว่าง มังกรปักกิ่งกับสปป.ลาวได้จริง

แต่ทว่า การณ์กลับไม่เป็นไปตามนั้น!

นายกรัฐมนตรีหลี่เค่อเฉียงไปเยือนลาวร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเหมือนกัน แต่สปอตไลท์ไม่ได้จับเท่ากับโอบาม่า เหมือนแทบไม่ได้แถลงผลรับอะไรที่เป็นเนื้อเป็นหนังในรอบนี้ แต่ที่แท้แล้ว ปักกิ่งได้บรรลุความสำเร็จที่เป็นกุญแจสำคัญกับสปป.ลาวไปก่อนแล้ว นั่นเพราะหลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำรอบนี้ผ่านไปไม่นาน มันก็เกิดมีข่าวใหญ่ชิ้นสำคัญเมื่อกลางเดือนกันยายน หลังจากเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวันบินจากสนามบินนานาชาติวัดไตได้ไม่กี่วัน  รายงานถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟจีน-ลาว ขนาดที่สำนักข่าวซินหัวโหมประโคม

Laos-China railway construction to begin in December: officialhttp://news.xinhuanet.com/english/2016-09/15/c_135688053.htm

เนื้อข่าวบอกว่าการก่อสร้างทางรถไฟจีน-ลาว ระยะทาง 427 กิโลเมตร จะเริ่มในเดือนธันวาคมนี้  โดยจะมีการทำสัญญากับบริษัทก่อสร้างและบริษัทที่ปรึกษาด้านละ 6 บริษัทภายในเดือนตุลาคม ทั้งนี้ลาวได้ลงนามว่าจ้างกิจการของจีนไปแล้วเมื่อปีกลายจำนวน 1 บริษัทส่วนที่เหลือจะลงนามกันในรอบนี้พร้อมกันทั้งหมด

บริษัทจีนที่จะมาลงนามเป็นคู่สัญญากับรัฐบาลลาว ก็น่าสนใจ เพราะมันแสดงออกถึงบรรษัทยักษ์ใหญ่และการส่งออกเทคโนโลยีก่อสร้างของจีนยุคใหม่ บริษัทที่ว่าคือ China Railway Group เป็นกิจการที่รวมเอาบริษัททางรถไฟในประเทศควบรวมกันเป็นกลุ่มๆ ภายใต้ร่มธงเดียวกันแล้วก็แยกกันรับงานไปตามช่วงตอนที่จัดแบ่ง รวมแล้ว 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่งของระยะทางทั้งหมด

ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือกลุ่มกิจการก่อสร้างรถไฟจีน CRG ได้ประกาศถึงชัยชนะที่ได้รับสัญญาใหญ่ครั้งนี้เมื่อวันที่ 8 กันยายน ระหว่างที่ประธานาธิบดีโอบาม่ายังอยู่ระหว่างเยือนลาวอยู่เลย ซึ่งต่อมามีการแจ้งต่อตลาดหุ้นในฮ่องกง และสื่อค่อยนำมาเผยแพร่ต่อ สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนเลือกที่จะรายงานเรื่องนี้หลังจากสื่อท้องถิ่นเวียงจันทน์ได้รายงานไปก่อน

เว็บไซต์ IRJ-International Railway Journal นำเสนอรายละเอียดของสัญญาได้ชัดเจนดีว่านี่เป็นแค่ระยะทางส่วนเดียวจากระยะทางรวมกว่า 400 ก.ม. http://www.railjournal.com/index.php/asia/contracts-awarded-for-china-laos-railway.html

ในรอบนี้กิจการกลุ่ม CRG ของจีนได้งานไป 3 ช่วงตอน เมื่อรวมกับเมื่อปีกลายที่ China Railway No 2 Engineering Group ได้สัญญาก่อสร้างช่วงตอนที่ 4 ไปแล้วมูลค่า 2.3 พันล้านดอลลาร์ ก็เท่ากับว่ากิจการในเครือ CRG ของจีนได้งานก่อสร้างไป 4 ช่วงตอนจากทั้งสิ้น 6 ช่วงตอน

เฉพาะด้านวิศวกรรมก็ใหญ่มาก เพราะพื้นที่ภาคเหนือของลาวเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทางรถไฟสายนี้จะมีสถานีจอดรถ 33 สถานี จากพรมแดนลาว-จีนที่บ่อเตน ผ่านอุดมไซ หลวงพระบาง วังเวียง เรื่อยมาถึงเวียงจันทน์ จะต้องสร้างอุโมงค์ลอดภูเขาถึง 72 อุโมงค์ ที่ยาวที่สุด 9 กิโลเมตรกว่าๆ ที่รองๆ ลงมา 7-8 กิโลเมตรก็มี ทางรถไฟที่จะสร้างกว้าง 1.435 เมตร ดังนั้นคมนาคมลาวกับไทยจะต้องมีเจรจารายละเอียดกันว่าจะเชื่อมระบบกันยังไงต่อไป ตามข่าวเห็นว่าได้มีนัดหมายประชุมกันแล้วแสดงว่าเรื่องนี้มีความคืบหน้าจริงๆ  จีนนั้นชำนาญการก่อสร้างทางรถไฟผ่านสภาพภูมิประเทศภูเขาลักษณะนี้ในยูนนานมาก่อน เจอเขาก็เจาะอุโมงค์ เจอเหวสร้างสะพานสูงเป็นว่าเล่นมาก่อนแล้วจึงไม่น่าจะมีปัญหาทางวิศวกรรมอะไร

แต่รถไฟจีนมาลาวไม่ใช่ความเร็วสูงนะครับ บทสรุปสุดท้ายเป็นแค่ความเร็วปานกลางมีทั้งรถผู้โดยสารและรถสินค้า รัฐบาลลาวพิจารณาเรื่องนี้มายาวนานเพราะมันละเอียดอ่อน หากลาวไม่ได้อะไรเลยคงจะไม่เอาด้วย แต่เมื่อชั่งน้ำหนักแล้ว ทางรถไฟจะเป็นกลไกสำคัญของการยกระดับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจประเทศที่เป็น Landlocked country มาเป็น Land-linked Country การที่มีสถานีขนส่งรวมแล้ว 33 สถานีจอดแวะตามจุดสำคัญแทนที่จะเป็นความเร็วสูงจอดเฉพาะไม่กี่เมืองตามแผนเดิมเป็นตัวชี้ว่าลาวมีการเจรจากับจีนและได้พิจารณาชั่งน้ำหนักผลประโยชน์ของรถไฟต่อภาคเศรษฐกิจของลาวเองเป็นสำคัญ รัฐบาลลาวหวังว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษไซยะเซดถา หรือ Saysettha Development Zone ที่จีนร่วมทุนก่อสร้างใกล้นครเวียงจันทน์ กับทางรถไฟจะช่วยดันให้สปป.ลาวหลุดพ้นจากสถานะ Less Developed Countries ภายในปี 2020

ดูเหมือนว่าอ้อมกอดของพญามังกรจะอบอุ่นและเหนียวแน่นอยู่เหนือดินแดนลุ่มน้ำโขงศรีสัตตนา-ล้านช้าง แม้พญาอินทรีจะเพิ่งกางปีกโฉบลงมาอวดโฉมมาหยกๆ ก็ตาม.

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ