วันนี้เป็น “ลูกจ้าง” วันหน้า คุณอาจเป็นคนเปลี่ยนโลก..ถอดบทเรียนผู้ให้กำเนิด “เกมโปเกม่อน โก” : ชีพธรรม คำวิเศษณ์

ชีพธรรม คำวิเศษณ์

การเป็นลูกจ้างไม่ใช่สิ่งเลวร้ายอะไร กลับกัน ทำให้เรียนรู้ประสบการณ์ในสิ่งที่สตาร์ทอัพ อาจจะมองไม่เห็น บางอาชีพคุณต้องเป็นลูกจ้างเท่านั้นคุณถึงจะได้ทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ทำ

การเป็นลูกจ้างไม่ใช่สิ่งเลวร้ายอะไร กลับกัน ทำให้เรียนรู้ประสบการณ์ในสิ่งที่สตาร์ทอัพ อาจจะมองไม่เห็น บางอาชีพคุณต้องเป็นลูกจ้างเท่านั้นคุณถึงจะได้ทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ทำ ยกตัวอย่าง ถ้าคุณไม่ใช่นักบินพาณิชย์ขับเครื่องโบอิ้ง 747 คุณจะซื้อเครื่องบิน 747 มาบินเล่นได้ไหม หรือถ้าหากเป็นข้าราชการคุณจะได้บริหารเงินเป็นร้อยๆ ล้านบาท โดยที่คุณไม่ต้องลงทุนหาเงินเหล่านั้นมาด้วยตนเอง ไม่ว่ารัฐมนตรีจะเปลี่ยนไปกี่คนก็ตาม ข้าราชการก็ยังบริหารเงินก้อนโต ซึ่งบางทีสตาร์ทอัพทำไม่ได้ครับ ต้องรับจ้างอย่างเดียว นี่เป็นข้อดีของทำงานในองค์กรใหญ่ๆ

แต่เป้าหมายในชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ Connecting the dot > “You can’t connect the dots looking forward; you can only connect them looking backwards. So you have to trust that the dots will somehow connect in your future.” โค้ดอมตะของสตีฟ จ๊อบส์ ที่กล่าวสุนทรพจน์ให้กับนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษาของ มหาวิทยาสแตนฟอร์ด ปี 2015 “เราไม่สามารถจะเชื่อมโยงจุดต่างๆ ในการมองไปอนาคตได้ แต่คุณสามารถมองจุดเชื่อมโยงย้อนหลัง ที่จะไปในอดีตที่ก่อนขึ้น และคุณจะต้องเชื่อมั่นในจุดเชื่อมโยงเหล่านั้นซึ่งจะมีผลต่ออนาคตของคุณ”

เกม Pokemon Go เกมแห่งปี 2016 ที่กำลังโด่งดังเป็นพลุแตกไปทั่วโลก เป็นตัวอย่างที่ดีของ Connection the dots รู้จักกันไหมครับผู้พัฒนา John Hanke (จอห์น แฮนกี้) คนนี้แหละครับเขาอายุ 49 ปี ไม่ใช่เด็กหนุ่มแล้ว ผู้ให้กำเนิดโปเกม่อนเกม สิ่งที่ทำให้ผมสนใจก็คือ เกม Pokemon ไม่ได้อยู่ๆ จะสร้างขึ้นมาในบัดดล ได้ไอเดียแบบสตาร์ทอัพ คิดพรวดพราดขึ้นมาแล้วทำได้เลย แต่เป็นประสบการณ์ที่สะสมมาจากอดีตเรื่อยๆ จนกระทั่งตกผลึกและลาออกจากการเป็นผู้บริหาร Google ออกมาตามความฝันของตนเอง ซึ่งในช่วงเวลาที่เขาอยู่ใน Google ชื่อของเขาเงียบมากแม้ว่าได้ทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่

ผมนั่งอ่านนิตยสาร Forbes Thailand เดือนกันยายน มีการพูดถึง John Hanke แต่สิ่งที่ผมสนใจก็คือ เขาเป็นคนบ้านนอกของสหรัฐอเมริกา มาจากรัฐเท็กซัส ซึ่งเมืองของเขามีประชากรเพียง 1 พันคนเท่านั้น จากนั้นผมเข้าไป youtube ค้นหาชื่อของเขาปรากฏว่า ได้ผลลัพธ์จาก โรงเรียนบริหารธุรกิจ Hass ของ UC Berkley (University Of Californai At Berkley) โรงเรียนบริหารธุรกิจที่เขาจบมาไม่ธรรมดา ระดับใกล้เคียงกับโรงเรียนบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ด (Harvard Business School) ผมนั่งดูยูทูบด้วยความตื่นเต้นและสนใจ ตัวจริงเป็นคนถ่อมตัวมากและดูสบายๆ เหมือนอเมริกันชนทั่วไป เขาเล่าว่าเขาสนใจสนใจเรื่องเกมโปรแกรมมิ่งมาตั้งแต่เป็นเด็ก และเขามีความเป็นผู้ประกอบการอยู่ในตัวเอง  แฮนกี้เป็นคนที่พัฒนาโปรแกรม Keyhole เป็นโปรแกรมดูแผนที่โลกภายหลัง Google เข้ามาซื้อกิจการและนำไปพัฒนาเป็น Google Earth และ Google Map และเขาคนนี้แหละครับที่ดูแล Google ที่เป็นแผนที่ทั้งหมดของ Google รวมถึง Street View ที่เป็นภาพถนน เขารับผิดชอบทั้งหมดทั่วโลก รวมไปถึง Google Glass ที่ Google หยุดพัฒนาไปด้วย

แฮนกี้เป็นผู้บริหารอยู่ที่ Google ยาวนานถึง 12 ปี สิ่งที่เขาได้รับประโยชน์จากการที่เป็นทีมบริหาร google คือ ได้ทราบถึงพฤติกรรมของผู้ใช้สมาร์ทโฟนจากทั่วโลก และสิ่งที่เขาและทีม Google ได้พัฒนาบนแผนที่เปลี่ยนแปลงโลกมามากมายขนาดไหน เราเป็นผู้ใช้ Google map คงได้ทราบกันอยู่แล้ว คนเคยเป็นผู้ประกอบการและจิตวิญญาณ ยังคงอยู่ ก็ต้องลาออกมาทำตามความฝัน เพราะ Google ใหญ่และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ไอเดียที่เขามีอยู่เริ่มกลายเป็นส่วนเล็กๆ ของบริษัท Niantic เป็นชื่อเรือ ที่พาคนเข้ามายังซานฟรานซิสโก สมัยตื่นทอง เขาเริ่มต้นพัฒนาเกม Ingress ก่อน เกมวางแผนกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงเข้ากับแผนที่ ประสบความสำเร็จทำให้ผู้คนออกไปเล่นเกมในสถานที่ต่างๆ มีคนจากทั่วโลก มาเล่นเกมนี้ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น

เกมนี้ช่วยในการเดิน แต่เกม ingress ไม่ค่อยฮิตในเมืองไทย ผมเองยอมรับว่า ก็ไม่เคยได้ได้ยินเลยครับ เกม Ingress ได้รับรางวัลในเกมโชว์ของญี่ปุ่นด้วยและโด่งดังไปทั่วโลก เขาเล่าให้ฟังว่า เวลานี้โลกกำลังสนใจที่ไป VR (Virtual Reality)  แต่สำหรับแฮนกี้เขาบอกว่า ไม่น่าตื่นเต้นเท่าไหร่ การนำอะไรที่มาใส่หัวแล้วให้คนเดิน เขาชอบ AR (Augmented Reaitly) มากกว่าและอยากทำแอปมาเสริมกับสิ่งเหล่านี้ ความน่าสนใจของแฮงกี้ที่เขาเล่าให้กับนักเรียน MBA ฟังก็คือคือ Intrepreneurship ความเป็นผู้ประกอบการในองค์กร ช่วงที่เขาอยู่ที่ Google การเป็นผู้ประกอบการในองค์กรมีข้อดีและข้อเสียไม่เหมือนกัน

ข้อดีก็คือ ผู้พัฒนาดูแลผลิตภัณฑ์อย่างเดียว มีแบรนด์ของบริษัทช่วยเหลือไม่ต้องกังวลเรื่องกฎหมายและภาษี รวมไปถึงการตลาดและประชาสัมพันธ์ที่บริษัทแม่แข็งแกร่งอยู่แล้ว แต่ถ้ามาเป็นผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบทุกอย่าง ทั้งทรัพย์สินทางปัญญาและเงินทุนในการมาทำงาน การบริษัททีมงานออกมา แยกออกมาคือเรื่องเงิน ทรัพย์สินทางปัญญา ทีมงานที่อยากตามออกมาหรือไม่ ในการมาร่วมเสี่ยงบริษัทแม่จะคิดอย่างไร การแบ่งหุ้นระหว่างทีมด้วยกัน

ในที่สุดเขาก็แยก Niantic ซึ่งเป็นทีมผลิตเกมเล็กๆ ภายใต้ Google เพื่อออกมาให้เกิดความอิสระและคล่องตัวมาขึ้นและเขาเป็นเบอร์หนึ่งของ Niantic จะทำอะไรก็ไม่ต้องผ่านระบบบริหารของ Google ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ผู้เขียนเชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้บริหาร google เดิม ยอมให้ แฮนกี้ แยกทีมงานออกมา คงเป็นเพราะเขาได้ทุ่มเทให้กับธุรกิจแผนที่ของ Google มาอย่างเต็มที่และยาวนาน มากที่สุดจนกระทั่งผลิตภัณฑ์อย่าง Google Map มีผู้ใช้บริการค้นหามากเป็นอันดับ 2 ของ google และบริษัท Niantic บริษัทแม่ของ Google ได้เข้ามาถือหุ้นด้วย

ตอนแฮนกี้เริ่มทำเกมส์โปเกม่อนโก จากประสบการณ์ที่สะสมมาตลอดเห็นความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรของผู้ใช้โทรศัพท์ โปเกม่อนเป็นวิสัยทัศน์เพื่อนำคาแลคเตอร์ของนินเทนโดนมาใส่ในเกมส์ ดีลนี้จบได้ง่ายดายมากจริงๆ CEO โปเกมอน เป็นนักเล่นเกมส์ ingress และ level สูงด้วย ความเป็นนักเล่นเกมส์แ และมีวิชั่นที่ตรงกัน ทำให้ Niantic กับ Pokemon ทำงานด้วยกันอย่างมุ่งมั่น จอห์น แฮงกี้ ใช้ Twitter @johnhanke ไปติดตามกันได้ครับ Niantic Lab และ Pokemon Go เป็นตัวอย่างของเศรษฐกิจดิจิทัล ที่เสกโลกเสมือนจริงขึ้นมาปลุกกระแสคนทั้งโลก คาดว่าจะมีรายได้ 5 พันล้านเหรียญ สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากถึงท่านผู้อ่านก็คือการสะสมความรู้ และแรงผลักดันตามความฝันของตนเอง ประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมดในชีวิตของเรา อาจมีจุดพลิกผัน ด้วย Connection the dots ที่สตีฟ จ๊อบส์ ได้กล่าวไว้ครับ และผมก็เชื่อว่าชีวิตของคนทุกคนก็เป็นเช่นนั้น

“โชคเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ แต่ที่ทำให้สำเร็จก็คือความรู้และวิสัยทัศน์ในการมองธุรกิจรวมถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในยุคถัดไปครับ”

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ