2 APP Chat รุกเจาะกระเป๋าเงินคนเมือง รับ Cashless เติบโต : ภาวนา อรัญญิก

ภาวนา อรัญญิก

ผู้ประกอบการต่างเชื่อมั่นว่า “โอกาส” ที่จะเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ (Cashless) เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แม้ว่าทุกวันนี้คนไทยจะยังคงมีสัดส่วนการใช้เงินสดจะยังสูงอยู่มาก แต่โอกาสในการใช้จ่ายผ่านกระเป๋าเงินอิเลกทรอนิกส์กลับคืบคลานเข้าสู่ชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ติดกับดักของความ “เร่งรีบ” ในสังคมของเมืองใหญ่อยู่ไม่น้อย

 

pawana

ภาวนา อรัญญิก

 

 

 

 ผู้ประกอบการต่างเชื่อมั่นว่า “โอกาส” ที่จะเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ (Cashless) เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แม้ว่าทุกวันนี้คนไทยจะยังคงมีสัดส่วนการใช้เงินสดจะยังสูงอยู่มาก แต่โอกาสในการใช้จ่ายผ่านกระเป๋าเงินอิเลกทรอนิกส์กลับคืบคลานเข้าสู่ชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ติดกับดักของความ “เร่งรีบ” ในสังคมของเมืองใหญ่อยู่ไม่น้อย

ยิ่งเมื่อการเติบโตของกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่มีการใช้เทคโนโลยีของอุปกรณ์โมบาย แอปพลิเคชัน รวมถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของ FinTech ที่พัฒนานวัตกรรมต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ กลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่มีความคุ้นเคยในการใช้บริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) โดยเฉพาะการชำระค่าสาธารณูปโภค การชำระบิลต่างๆ เป็นต้น

ยิ่งกลายเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ Cashless เติบโตขึ้นเรื่อยๆ

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตและมือถือมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ในปีที่ผ่านมามีมูลค่าถึง 7.4 หมื่นล้านบาท เติบโตสวนทางกับการทำธุรกรรมผ่านระบบเอทีเอ็มและสาขาธนาคารกลับลดลง เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตในประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

กระเป๋าเงินอิเลกทรอนิกส์มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามระบบการใช้ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือการผูกกระเป๋าเงินอิเลกทรอนิกส์ไว้กับบัญชีเงินฝากหรือบัตรเครดิต เพื่อให้สามารถเติมเงินมาใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการได้

ผู้ประกอบการหลายรายจึงมองเห็นโอกาสทางการตลาด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่น แชตออนไลน์ ทั้ง LINE และ WeChat ที่ต่อยอดแอพฯแชต เข้าไปยังไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในส่วนอื่นๆของผู้ใช้ โดยอาศัยความคุ้นเคยที่ผู้บริโภคมีให้กับแบรนด์หลัก แตกซับแบรนด์ออกมารองรับ

 

กลุ่มเป้าหมายกลุ่มลูกค้าในเมืองใหญ่ใช้ชีวิตเร่งรีบ ที่มีการใช้จ่ายเป็นประจำ
ไลฟ์สไตล์ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว
กลยุทธ์จูงใจได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆจากการใช้
รูปแบบการใช้งานหลักใช้แทนเงินสดในการชำระสินค้าและบริการ
รูปแบบการใช้งานรองโอนเงิน

 

LINE Pay

LINE เปิตดัว LINE Pay โดยนำคอนเซ็ปต์ “ช้อปง่าย จ่ายสนุก” มาใช้ทำตลาดกับไลฟ์ลไตล์ของกลุ่มเป้าหมายหลักคนเมืองรุ่นใหม่ ในการชำระเงินซื้อสินค้าทั้งบริการจากใน LINE เองหรือสินค้าจากร้านค้าต่างๆจากหลากแวดวงธุรกิจไม่ว่าจะเป็นด้านแฟชั่น การท่องเที่ยว หนังสือ ไอที การเงิน ฯลฯ เช่น Central Online, lazada, SE-ED นอกจากนี้ยังสามารถใช้เติมเงินโทรศัพท์มือถือได้ทั้ง 1-2-Call, dtac happy, Truemove-H โดยมีโปรโมชั่นส่วนลดของร้านค้าที่ร่วมรายการมาใช้เป็นกลยุทธ์จูงใจ

LINE Pay สร้างความสะดวกในการใช้ด้วยช่องทางเติมเงินเข้าได้หลายช่องทาง ทั้งตัดจากบัญชีธนาคารโดยตรง หรือโอนเงินเข้ามาจากตู้ ATM, Internet Banking หรือ Mobile Banking นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ “โอนเงิน” จากในกระเป๋าเงิน LINE Pay ให้เพื่อนผ่าน LINE โดยไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลบัญชีธนาคารของผู้รับ และไม่มีการคิดค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้นแม้จะเป็นการโอนข้ามธนาคาร

การเติบโตของ LINE Pay ทำให้ Rabbit ระบบบัตรสมาร์ทการ์ดแรกที่สามารถใช้ได้กับเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนร่วมลงทุนและเปลี่ยนชื่อเป็น Rabbit LINE Pay ดีลดังกล่าวส่งผลให้ LINE Pay กลายเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินแบบออนไลน์และออฟไลน์รายใหญ่ ด้วยฐานผู้ใช้ของบัตร Rabbit กว่า 5 ล้านใบ และมีจุดรับบัตรแรบบิทมากกว่า 4,000 จุดโดยจะกระจายอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล ขณะที่ยอดผู้ลงทะเบียนใช้งาน LINE Pay มีจำนวน 1.5 ล้านคน และจำนวนร้านค้าที่ร่วมรายการทั่วประเทศมากกว่า 250 ร้านค้า

 

WeChat Pay

แม้ว่า WeChat จะไมได้ขึ้นแท่นในฐานะแอพพลิเคชั่น แชตออนไลน์ อันดับหนึ่งของคนไทยอย่าง “ไลน์” แต่จุดแข็งของ WeChat ที่ปฏิเสธไมได้คือการมีฐานผู้ใช้ขนาดใหญ่ที่เมืองจีน

ซึ่งนั่นก็คืออีกเหตุผลหนึ่งในการเปิดให้บริการ WeChat Pay ในไทยเพื่อรองรับธุรกรรมทางการเงินของทั้งนักท่องเที่ยวจีนที่มีปริมาณการเดินทางมายังประเทศไทยจำนวนมหาศาล 8 ล้านคนต่อปี และมีการใช้จ่ายเงินประมาณ 4.2 แสนล้านบาท รวมถึงนักธุรกิจจีนที่มาปักหลักค้าขายในไทย ให้สามารถรองรับการซื้อสินค้าและบริการให้กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการชำระเงิน ซึ่งที่ผ่านมานักท่องเที่ยวจีนมีข้อจำกัดเรื่องการนำเงินตราเข้าประเทศไทย

ดังนั้นการเพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่าน WeChat Pay จะเป็นการเพิ่มอีกช่องทางหนึ่งในการจ่ายเงิน โดยร้านค้าที่มี QR CODE ก็สามารถให้ลูกค้าเปิดแอพพลิเคชั่นสแกนคิวอาร์โค้ดก็รับชำระค่าสินค้าและบริการผ่านระบบ WeChat Pay ได้ทันที ประกอบกับคนจีนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยในการใช้ WeChat Pay ในการชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆในชีวิตประจำวันมาระยะหนึ่งแล้ว ปัจจุบัน WeChat Pay มี Active user ทั่วโลกกว่า 400 ล้านบัญชี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ